วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

การพัฒนาบุคลากรเพื่อจัดการแหล่งท่องเที่ยว

การพัฒนาบุคลากรเพื่อจัดการแหล่งท่องเที่ยว
        บุคลากรที่ดำเนินงานบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในที่นี้ แท้จริงแล้วคือสมาชิกในชุมชนทุกคนซึ่งมีส่วนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนด้วยการปรับเปลี่ยนบทบาทมาตอบสนอง
        กิจกรรมการท่องเที่ยว อาจแบ่งประเภทของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวชุมชนได้ 3 ประเภท ด้วยกันดังนี้
        1. สมาชิกในชุมชน เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงจากสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรการท่องเที่ยวทั้งด้านบวกและด้านลบเมื่อสามารถรักษาสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติให้อยู่ในสภาพที่
สมดุล สวยงาม น่าอยู่ จะทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวในชุมชนนั้น สมาชิกในชุมชนย่อมได้รับผลดีในเชิงเศรษฐกิจไปด้วย
        2. ผู้มีหน้าที่นำเที่ยวหรือมัคคุเทศก์ เป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยว จึงเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวมากที่สุดมัคคุเทศก์จึงมีบทบาทสำคัญในการที่จะช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวตามธรรมชาติได้เป็นอย่างดี การให้คำแนะนำที่ถูกต้องในระหว่างการนำนักท่องเที่ยวออก
        ท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ควรจะแจ้งข้อมูล ทำความเข้าใจกับนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะกฎระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ของแหล่งท่องเที่ยวชุมชน มีกิริยามารยาทที่เรียบร้อยละมุมละม่อม มีการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมและเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้และดูแลรักษาทรัพยากรการท่องเที่ยวตามธรรมชาติ
        3. ผู้ดำเนินการกิจกรรมการท่องเที่ยวในชุมชน เป็นบุคลากรสำคัญที่จะช่วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยว โดยการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่นักท่องเที่ยว มีการจัดทำแผนการเดินทางและกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะเกี่ยวกับสภาพพื้นที่ ข้อมูลทั่วไปประเพณีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง แนะนำการปฏิบัติของนักท่องเที่ยวให้เหมาะสมกับชุมชน ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศของพื้นที่ ตลอดจนแนะนำข้อควรระวังต่าง ๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบทั้งกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และตัวนักท่องเที่ยวเอง
แนวทางการพัฒนาบุคลากรเพื่อบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว
        การพัฒนาบุคลากรเพื่อบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวได้กำหนดให้มีแนวทางการดำเนินงานออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
        1. การพัฒนาศักยภาพตนเอง โดยการเรียนรู้จากนักท่องเที่ยวและการฝึกปฏิบัติจริง มีการศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเองเข้ารับการอบรมและศึกษาดูงานที่เกี่ยวข้อง
        2. การพัฒนาทีมงาน มีการจัดตั้งกลุ่ม ชมรมหรือคณะทำงานเพื่อการจัดการด้านการท่องเที่ยว มีการอบรมให้ความรู้แก่ทีมงาน เช่น ไปศึกษาดูงานในสถานที่ต่าง ๆ มีการเชิญหน่วยงานภายนอกเข้ามาถ่ายทอดและให้ความรู้กับบุคลากรในพื้นที่
        3. การถ่ายทอดความรู้จากผู้มีประสบการณ์ในชุมชนปราชญ์ชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ไปสู่เยาวชนรุ่นหลังมีการถ่ายทอดจากผู้มีประสบการณ์และความรู้เฉพาะด้านไปสู่บุคลากรในชุมชน มีการสนับสนุนบุคลากรทดแทน มีการจัดประชาคมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มชุมชนที่จัดกิจกรรมการท่องเที่ยว
        4. การจัดทำฐานข้อมูลองค์ความรู้ในชุมชน โดยการถ่ายทอด การศึกษาค้นคว้า การศึกษาดูงาน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างพื้นที่ นำมาจัดทำเป็นมาตรฐานข้อมูลแห่งการเรียนรู้ชุมชน และจัดทำศูนย์ข้อมูลเรียนรู้ระดับท้องถิ่น
        5. การวิจัยและประเมินผล โดยการจัดทำแบบสอบถามเพื่อประเมินผลการให้บริการอันนำไปสู่การพัฒนาบุคลากรเพื่อการให้บริการที่ดีขึ้น มีการศึกษาวิจัยเฉพาะด้านเพื่อการจัดการท่องเที่ยวที่ดีขึ้น
ที่มา      http://www2.suratthani.go.th/km/index-20.htm

การเป็นนักท่องเที่ยวที่ดี

             1. ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ที่จะเดินทางไปเสียก่อน อาทิ สถานที่ที่พักอยู่ที่ไหน ราคาเท่าไหร่ แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมีที่ไหนบ้าง ตลอดจนการกาหนดยานพาหนะให้ถูกต้องเหมาะสม ศึกษาเส้นทางที่จะเดิน ทั้งในเรื่องเส้นทางเดินป่า ควรศึกษาให้เข้าใจ สาหรับกรณีท่องเที่ยวแหล่งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ควรจะศึกษาเรื่องราวของแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆก่อนเพื่อทาให้เราได้เข้าใจได้มากขึ้น เช่น พระราชบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น รวมไปถึงสภาพแวดล้อม ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ เช่น อากาศในช่วงที่จะเดินทางไปนั้นมีสภาพอากาศร้อน หนาว เท่าไหร่ มีลมมรสุมหรือไม่ กรณีที่ไปเที่ยวตามเกาะต่างๆ ซึ่งข้อนี้สาคัญมากสาหรับนักท่องเที่ยวที่ว่ายน้าไม่เป็น หรือไม่แกร่งพอ ถ้าหากมีลมมรสุมและทางหน่วยงานของรัฐมีการแจ้งเตือน ควรจะเชื่อตามคาแนะนา เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุเรื่องล่ม หรือเกิดภาวะน้าหลากตามแหล่งน้าตกต่างๆในช่วงฤดูฝนที่พบว่ามีน้าป่าไหลบ่าจนทาให้เกิดอุบัติเหตุได้

              2. การจัดเตรียมเครื่องปฐมพยาบาลเบื้องต้น พกติดไปด้วย อาทิ ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ปวด ลดไข้ พลาสเตอร์ปิดแผล รวมทั้งยาประจาตัวของผู้ที่ป่วยเป็นโรคเฉพาะ เพราะอาจจะเกิดอาการกาเริบได้ในขณะท่องเที่ยว

              3. การจัดเตรียมเสื้อผ้า รองเท้า และอาหาร-น้้า กรณีที่เป็นการท่องเที่ยวแบบสมบุกสมบัน ตั้งแคมป์เดินป่า ปืนเขา เป็นต้น จะต้องจัดเตรียมสัมภาระที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวแนวนั้นๆ

             4. นักท่องเที่ยวที่ดีจะต้องช่วยกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ มิให้เสื่อมโทรม ด้วยการช่วยไม่ทิ้งขยะ สิ่งของเหลือใช้ลงในแม่น้า แหล่งน้าต่างๆ หรือตามสองข้างทางในป่า หรือตามเกาะ แก่งต่างๆ นอกจากนี้ไม่ควรจะขีดเขียนตามโขดหิน ผนังถ้า ต้นไม้ การหัก / เด็ด ดอกไม้ หินงอก หินย้อย หรือเก็บปะการังตามเกาะต่างๆ เป็นการทาลายความงามตามธรรมชาติ การทาลายโบราณสถาน การเก็บชิ้นส่วนจากโบราณสถานไปเป็นสมบัติส่วนตัวถือว่าเป็นการกระทาความผิดทางกฎหมาย

             5. นักท่องเที่ยวที่ดีจะต้องไม่ประพฤติตนขัดต่อวิถีชีวิตและประเพณีนิยมของคนในท้องถิ่นที่ไปเยือน การฝึกฝนตนให้เป็นคนช่างสังเกต รู้จักกาลเทศะอันควร จะช่วยให้ปฏิบัติตนได้ถูกต้อง และยังได้รับความเป็นมิตร ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมของท้องถิ่นต่างๆอีกด้วย

            6. นักท่องเที่ยวที่เดินทางเป็นหมู่คณะ จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของกลุ่ม ฟังคาแนะนาของหัวหน้าคณะและมัคคุเทศก์ ต้องตรงต่อเวลา ไม่ประพฤติตนให้เป็นที่ราคาญ หรือรบกวนหมู่คณะ

           7. นักท่องเที่ยวที่ดีจะต้องระมัดระวังอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการเดินทาง ต้องไม่ประมาทและคานึงความปลอดภัยให้มากที่สุด ผู้ขับขี่รถต้องไม่ดื่มสุรา ยาม้า หรือของมึนเมาทุกประเภท ไม่ขับรถด้วยความเร็วเกินอัตรากาหนด ไม่แข่งหรือแซงกันในที่คับขัน ก่อนออกเดินทุกครั้งควรตรวจสภาพพาหนะก่อนออกเดินทาง กรณีที่เดินทางทางน้า จะต้องจัดเตรียมเครื่องชูชีพให้พร้อมสาหรับนักท่องเที่ยวทุกคน กรณีที่ไปแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ไม่ควรปีนป่ายหน้าผา น้าตกที่ลื่นชัน ฯลฯ ถ้ามีการเดินป่า ควรมีผู้นาทาง หลีกเลี่ยงการผ่านที่เปลี่ยว และพยายามเกาะกลุ่มกันเพื่อไม่ให้หลงทาง
          
            การท่องเที่ยวจะเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ ถ้ารู้จักท่องเที่ยวให้ถูกวิธี ซึ่งจะช่วยให้
ได้รับความสนุกสนาน การรู้จักระมัดระวังตัว ความรู้แจ้งเห็นจริง ความเป็นมิตร และความเข้าใจที่ดีจากการได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน ที่สาคัญคือ การตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ มรดกทางวัฒนธรรมที่จะกระตุ้นจิตสานึกในการอนุรักษ์สมบัติที่มีคุณค่าเหล่านี้ให้คงอยู่คู่ประเทศไทยต่อไปนานเท่านาน

วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555

แนะนำประเทศไทย

เชิญท่องเที่ยว Travel

10 สุดยอดสถานที่ท่องเที่ยวโรแมนติกที่สุดในโลก

           นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่คู่รัก จะต้องแสดงออกถึงความรักระหว่างกันและกัน การแสดงออก ในเรื่องความรัก หมายถึง การทำให้ฝ่ายตรงข้ามรู้สึกประทับใจ รู้สึกดี รู้สึกผูกพัน รู้สึกว่าได้ใช้ชีวิตร่วมกัน อย่างเกิดประโยชน์มากขึ้น วิธีแสดงออกถึงความรัก ที่เป็นที่นิยมอีกสิ่งหนึ่งก็คือ การได้ใช้เวลาไปท่องเที่ยวพักผ่อนด้วยกันในสถานที่สวย ๆ เพื่อเพิ่มความโรแมนติก และกระชับสายสัมพันธ์ ให้แน่นแฟ้นมากขึ้นไปอีก
ต่อไปนี้คือ 10 อันดับสถานที่ ที่ถูกจัดว่า มีความโรแมนติกมากที่สุดในโลก ซึ่งน่าจะหาโอกาสพาคนรัก ไปเยี่ยมชม สักครั้งหนึ่งในชีวิต
           
อันดับที่ 10. Colmar ประเทศฝรั่งเศส เมือง Colmar ถูกจัดให้เป็นเมืองที่มีความโรแมนติก เมืองหนึ่ง ของประเทศฝรั่งเศส และเป็นสถานที่ที่คู่รัก มักจะให้คำสัญญาในความรักระหว่างกันและกัน สิ่งที่น่าประทับใจในเมือง Colmar ก็คือ ไร่องุ่นจำนวนมาก เคียงคู่ไปกับอุตสาหกรรมการผลิตไวน์ชั้นเยี่ยม และบรรยากาศ ที่สวยงาม สถาปัตยกรรมของอาคารบ้านเรือนเก่าแก่ ช่วยทำให้เมือง Colmar เป็นอีกหนึ่งในสถานที่โรแมนติกในฝัน

 อันดับที่ 9. Paris ประเทศฝรั่งเศส เมืองปารีส มีสมญานามว่า “สวรรค์แห่งความโรแมนติก” (Heaven of Romantic) ดังที่ สถานที่แห่งนี้ เหมาะเป็นอย่างยิ่งที่คุณและคนรัก จะสารภาพ “รักนิรันดร์” ระหว่างกันและกัน สิ่งที่น่าประทับใจในเมืองปารีส อย่างเช่น พิพิธภัณฑ์ Le Louvre (พิพิธภัณฑ์ ที่มีผู้เข้าเยี่ยมชมมากที่สุดในโลก) หอไอเฟล ,โรงแรม Disney Land Resort ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุโรป พิพิธภัณฑ์ศิลปะ Centre Pompidou และสถานที่สวยงามอื่น ๆ อีกมากมาย การไปเที่ยว กับคนรักที่ปารีส หากจัดสรรเวลาให้ดีก็จะคุ้มค่ามาก และสถานที่แห่งนี้จะเก็บความโรแมนติก อยู่ในใจของคุณไปอีกนานแสนนาน

 อันดับที่ 8.Venice ประเทศอิตาลี หากคุณกำลังมองหาสถานที่ ที่จะเอ่ยกับคนรักว่า เขาหรือเธอ เป็นคนที่มีค่ามากที่สุดในชีวิต Venice ก็คือ คำตอบสุดท้ายสำหรับคุณ! เมือง Venice มีชื่อเสียงโด่งดังในด้าน สุดยอดสถาปัตยกรรม และยังมีหลายสถานที่โรแมนติก เช่น สะพานเก่าแก่ Ponte dei Sospiri, จตุรัส Piazza San Marco ที่ได้รับสมณานามว่า “ห้องจิตรกรรมของยุโรป” (The - drawing room of Europe) และคลองในตัวเมือง “Canale Grande” ทั้งหมดนี้จะสร้าง ความโรแมนติก ระดับหรูหรา ให้กับคนรักและตัวคุณ

 อันดับที่ 7. Schloss Neuschwanstein ประเทศเยอรมันนี สถานที่ที่ผสมผสาน ความสวยงามตามธรรมชาติ เข้ากับจินตนาการ และความสร้างสรรค์ของมนุษย์ ได้อย่างลงตัว เมือง SchlossNeuschwanstein มีความสวยงาม ราวกับเป็นสวรรค์บนพื้นโลก รายล้อมไปด้วยทิวทัศน์อันสวยงาม ปราสาทเก่าแก่อายุ 100 กว่าปี (สร้างปี 1899) ซึ่งเยอรมัน ได้ถูกกล่าวขานว่า เป็นอีกประเทศหนึ่ง ที่มีปราสาทสวยงามที่สุดในยุโรป

 อันดับที่ 6. Vienna ประเทศออสเตรีย เมือง Vienna ในประเทศออสเตรีย เป็นอีกสถานที่ที่มีคู่รักจากทั่วทุกมุมของโลก แวะเวียนมาเยี่ยมชมความสวยงาม สิ่งที่ขึ้นชื่อของเมืองนี้คือ สุดยอดสถาปัตยกรรม และสุดยอดผลงานเพลง, ศิลปะ และพิพิธภัณฑ์ศิลปะ ที่มีชื่อเสียงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก พระราชวัง Schoenbrunn, พระราชวัง Belvedere, พระราชวัง The Hofburg Imperial และพิพิธภัณฑ์นักจิตวิทยาผู้โด่งดัง Sigmund Freud

 อันดับที่ 5. Monte Carlo ประเทศโมนาโค เมือง Monte Carlo ยังเป็นอีกหนึ่งสถานที่โรแมนติก ที่คุณจะได้สื่อความรัก ไปยังคนรักของคุณ เมืองนี้ตั้งอยู่ที่ตีนของเทือกเขาแอลป์ และเป็น สถานที่ที่มีเรื่องราวของความรัก ก่อกำเนิดขึ้นมากมาย สิ่งที่น่าสนใจของเมือง Monte Carlo คือบ่อนคาสิโนเลื่องชื่อ (Monte Carlo Casino) พิพิธภัณธ์ทางทะเล, พิพิธภัณฑ์ประจำชาติ และพระราชวัง Prince

 อันดับที่ 4. Prague สาธารณรัฐเช็ก อีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ สำหรับสถานที่โรแมนติก ก็คือ เมือง Prague ของสาธารณรัฐเช็ก สถานที่แห่งนี้ขึ้นชื่อเรื่องอาหารอร่อย วัฒนธรรม และปราสาทเก่าแก่ ผู้คนที่มีมิตรไมตรี และสุภาพอ่อนโยน เมือง Prague เป็นสถานที่เกิดของนักดนตรีระดับโลก อย่าง Mozart และมีชื่อเสียง ในเรื่องของทางเดินอันสวยงามในเมือง ที่คู่รักสามารถใช้เวลาเดินเล่นด้วยกัน

 อันดับที่ 3. New York ประเทศสหรัฐอเมริกา เมือง New York เหมาะสำหรับคู่รัก ที่กำลังมองหาสถานที่ที่จะใช้ ช่วงเวลาแห่งความรัก และความโรแมนติก ในหลากหลายรูปแบบ ร้านอาหาร และร้านค้าจำนวนมาก และสถานที่น่าสนใจอื่น ๆ เช่น สถานีรถไฟ Grand Central Terminal, อนุสาวรีย์เทพีสันติภาพ และสวนหย่อมขนาดใหญ่ Central Park (มีกิจกรรมคอนเสิร์ต, มีลานสเก็ตน้ำแข็ง)

 อันดับที่ 2. Cairo ประเทศอียิปต์ เมือง Cario ก็ได้รับการกล่าวขานว่า เป็นสวรรค์บนโลกเช่นเดียวกัน (โดยเฉพาะสำหรับคู่รัก) ความงดงามและมนต์เสน่ห์ที่อยู่ในตัวเมือง คือแรงดึงดูด ให้คู่รักเดินทางมาใช้เวลาท่องเที่ยวที่นี่ด้วยกัน และปิรามิด ก็คือสิ่งที่พิเศษที่สุด ท่ามกลางความสวยงามในตัวเมือง

 อันดับที่ 1. Mauritius Island มหาสมุทรอินเดีย สถานที่แห่งนี้ ได้รับการกล่าวขานว่า “ปลายทางสุดท้าย ที่โรแมนติกมากที่สุด” (Ultimate Romantic Destination) เกาะ Mauritius มีชื่อเสียง อย่างมาก ในหมู่คู่รักที่จะมาท่องเที่ยว หรือคู่รักที่จะมาฮันนีมูน ต้นปาล์มมากมายที่เคลื่อนที่พริ้วไหว ไปตามสายลม บรรยากาศที่สวยงามตามธรรมชาติ แนวหินปะการัง และท้องทะเลสีฟ้า เป็นส่วนหนึ่งในอีกหลาย ๆ สิ่ง ที่ทำให้สถานที่แห่งนี้สวยงามจนยากที่จะลืมเลือน
ขอบคุณข้อมูลจาก gunnerthailand.com
http://brightlives.th.88db.com/lifestyle/lifestyle_romantic.htm

10 อันดับสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยที่สุดในประเทศไทย

อันดับที่ 10 เกาะตะปู
          เกาะตะปู ตั้งอยู่ในบริเวณทะเลด้านนอก ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา คิดเป็นระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร จากที่ทำการอุทยานฯตามลำคลองเกาะปันหยีจังหวัดพังงา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย อยู่ทางด้านเหนือในเวิ้งอ่าวของเกาะเขาพิงกัน เกาะตะปู มีลักษณะเป็นเกาะเดี่ยว รูปร่างคล้ายตะปู มีศัพท์เฉพาะทางธรณีวิทยาว่า เกาะหินโด่ง (Stack) การชมเกาะตะปูต้องชมในระยะไกลจากเรือ หรือจากสันดอนของเกาะเขาพิงกัน ไม่สามารถขึ้นไปบนเกาะได้

อันดับที่ 9 เกาะเต่า
           เกาะเต่า มีพื้นที่อยู่ในฝั่งของทะเลอ่าวไทย และอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลักษณะของ สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย เกาะเต่า จะมีลักษณะที่โค้งเว้า เหมือนกับเมล็ดถั่ว ซึ่งเกาะเต่า จะตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ เกาะพงัน จ.สุราษฏร์ธานี ระยะทางจากเกาะพงันถึงเกาะเต่า ประมาณสี่สิบห้ากิโลเมตร นอกจากนี้ สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย? ในบริเวณใกล้เคียงกับเกาะเต่ายังมีเกาะนางยวนซึ่ง เป็นเกาะเล็กๆ ด้านตะวันตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะเต่า มีสันทรายเชื่อมต่อกับเกาะเต่าในลักษณะเหมือนทะเลแหวก เป็นแหล่งดำน้ำชมปะการังอีกแห่งหนึ่ง

อันดับที่ 8 อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
          อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอดอยหล่อ อำเภอจอมทองและอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย
ในวันที 13 เดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2521 คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ได้ประกาศให้ดอยอินทนนท์เป็นอุทยานแห่งชาติ

อันดับที่ 7 หัวหิน
           หัวหิน เป็นอำเภอที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ? สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย เดิมมีชื่อว่า “บ้านสมอเรียง” หรือ “บ้านแหลมหิน” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้ทรงสร้างวังไกลกังวลเพื่อประทับพักผ่อนในฤดูร้อน และปัจจุบันวังไกลกังวลนั้นเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน

อันดับที่ 6 พัทยา
          พัทยา หรือ เมืองพัทยา เป็นเขตปกครองพิเศษเขตหนึ่งที่ตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ เมืองพัทยา ฉบับ วันที่ 29 พฤจิกายน พ.ศ. 2521 (เทียบเท่าเทศบาลนคร) ในเขตจังหวัดชลบุรี จัดเป็น สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย? เมืองท่องเที่ยวนานาชาติที่มีชื่อเสียงระดับโลกโดยเฉพาะหาดทรายที่ ทอดยาวไปตามแนวชายฝั่งทะเล จัดได้ว่า
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย มีความสวยงามอีกแห่งของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 140 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลทางทิศตะวันออกของอ่าวไทย ซึ่งพัทยาแบ่งเป็น 4 ส่วนได้แก่ พัทยาเหนือ พัทยากลาง พัทยาใต้ และหาดจอมเทียน

อันดับที่ 5 เกาะช้าง
          เกาะ ช้าง เป็น?สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย? ที่เกาะที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยรองจากเกาะภูเก็ต เกาะช้างมีโรงแรมและรีสอร์ตมากมาย ทำให้นักท่องเที่ยวนิยมมาดำน้ำ และด้วยภูมิประเทศที่มีป่าเขาอยู่กลางเกาะ นักท่องเที่ยวจึงสามารถท่องเที่ยวแบบเดินป่า ขี่ช้างก็ได้เช่นกัน

อันดับที่ 4 เกาะสมุย
          เกาะสมุย เดิมเกาะสมุยมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งปลูกมะพร้าว ปัจจุบันเป็นสถานที่พักผ่อนตากอากาศที่ชาวต่างประเทศนิยมเดินทางมาท่อง เที่ยว มีร้านค้า โรงแรม และสถานบันเทิงต่าง ๆ มากมาย หาดที่เป็นที่เชิดหน้าชูตาของคนเกาะสมุย คือ หาดเฉวง บริเวณชายหาดยาวประมาณ 7 กิโลเมตร ถ้าได้ลงมือเดินตั้งแต่ต้นหาดจนกระทั่งถึงปลายหาดจะใช้เวลาประมาณถึง 2 ชั่วโมง เพราะการเดินบนผืนทรายไม่เหมือนการเดินบนพื้นดินปรกติ
หาดที่มีความสวยงามเป็นอันดับรองลงมา คือ หาดละไม หาดเชิงมนต์ แหลมโจรคร่ำ หาดท้องยาง หาดหน้าทอน หาดพังกา และหาดตลิ่งงาม นอกจากธรรมชาติที่สวยงามของอำเภอเกาะสมุยแล้ว ยังมีกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก คือ “สปา” หรือการดูแลรักษาสุขภาพโดยการใช้น้ำบำบัด เช่น การอาบ-การแช่น้ำแร่หรือน้ำร้อน

อันดับที่ 3 หมู่เกาะพีพี
          อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในทะเลอันดามันด้านทิศตะวันตกของภาคใต้? สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย? เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่มีลักษณะสวยงามตามธรรมชาติ รอบ ๆ เกาะมีปะการัง กัลปังหา ทิวทัศน์ใต้ทะเลที่งดงาม และเอกลักษณ์ทางธรรมชาติคือภูเขาหินปูนที่มีหน้าผาเป็นชั้น ๆ ถ้ำที่สวยงาม ตลอดจนชายหาดยาวสะอาด สุสานหอย 40 ล้านปี ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 389.96 ตารางกิโลเมตร หรือ 243,725 ไร่

อันดับที่ 2 หมู่เกาะสิมิลัน
          อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความสวยงามทั้งบนบกและใต้น้ำ มีปะการังที่สวยงามหลายชนิด สามารถดำน้ำได้ทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก สามารถพบปลาที่หายาก เช่น วาฬ โลมา ปลาไหลมอเร่(moray) ช่วงเดือนที่น่าเที่ยวมากที่สุด คือช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนเมษายน นอกจากนั้นจะประกาศปิดเกาะ

อันดับที่ 1 หาดป่าตอง
          หาดป่าตอง อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 15 กิโลเมตร นับว่าเป็น สถาน ที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย หาดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของภูเก็ต เป็นชายหาด สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ที่เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ร้านดำน้ำ ร้านขายอุปกรณ์กีฬาทางน้ำ และอื่น ๆ อีกมากมาย ไว้คอยบริการแก่นักท่องเที่ยว ด้วยชายหาดที่มีความยาวกว่า 4 กิโลเมตร และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ป่าตองจึงเป็น สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ที่มีผู้นิยมมาเยือนมากที่สุด
หาด ป่าตองถูกถล่มโดยคลื่นสึนามิในเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547ปัจจุบัน หาดป่าตองเป็นหนึ่งในชายหาดสำคัญที่ได้รับการติดตั้งระบบเตือนภัยสึนามิ มีการซักซ้อมการอพยพและการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวอยู่อย่างสม่ำเสมอ เป็นระยะๆ

ข้อมูลจาก FWDMAIL
http://www.tlcthai.com/travel/5735

เที่ยวเมืองไทยครึกครื้น 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
          อุตสาหกรรม หมายถึง การประกอบกิจกรรมด้วยการนำปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ได้แก่ เงินทุน แรงงาน วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร และการจัดการมารวมกันเพื่อผลิตสินค้า และบริการอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีคุณค่าต่อมนุษย์
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หมายถึง การประกอบกิจกรรมด้วยการนำปัจจัยการผลิตต่างๆ มาผลิตบริการอย่างใดอย่างหนึ่งด้านการท่องเที่ยว ที่ก่อให้เกิดความสะดวกสบายหรือความพึงพอใจ และขายบริการด้านการท่องเที่ยวนั้นให้แก่ผู้เยี่ยมเยือน
           สินค้าของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เหมือนหรือต่างจากสินค้าของอุตสาหกรรมอื่นๆ อย่างไร
    1. เป็นสินค้าที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Goods)
สินค้าของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวคือการให้ “บริการ” ผู้บริโภคหรือผู้มาเยี่ยมเยือนไม่สามารถจับต้องหรือสัมผัสได้ ผู้มาเยี่ยมเยือนเพียงแต่ได้รับความพึงพอใจจากสิ่งที่เห็นหรือสิ่งที่ได้รับเท่านั้น บุคลากรที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจึงมีความสำคัญอย่างมาก
     2. เป็นสินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนที่ไปหาผู้บริโภค
ผู้บริโภคต้องเดินทางไปซื้อสินค้าและบริการ ณ สถานที่ผลิตนั้นเอง ซึ่งหมายถึงสถานที่ที่มีทรัพยากรการท่องเที่ยวต่างๆ
     3. เป็นสินค้าที่ไม่สูญสลาย
เป็นสินค้าและบริการที่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกหลายครั้ง ในบางครั้งต้องดูแลรักษาและบำรุงให้คงอยู่ในสภาพที่ดีและเสียหายน้อยที่สุด
      4. เป็นสินค้าที่เปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนกรรมสิทธิ์ก็ได้
              เนื่องจากสินค้าในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีหลากหลายรูปแบบ มีทั้งที่เมื่อผู้เยี่ยมเยือนได้ซื้อสินค้าแล้ว สินค้าบางประเภทมีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ อาทิ อาหาร ของที่ระลึก เป็นต้น แต่บางประเภทเพียงแค่ได้สิทธิ์ในการใช้ หรือชม อาทิ การจ่ายค่าห้องโรงแรม ไม่ใช่การได้เป็นเจ้าของห้อง เพียงแต่ได้สิทธิ์ในการเข้าพักตามระยะเวลาที่ตกลง เมื่อเข้ามาที่น้ำตก ทะเล ภูเขา ผู้เยี่ยมเยือนไม่ได้เป็นเจ้าของน้ำตก ทะเล ภูเขา เพียงแต่ได้เข้ามาเยี่ยมชมความงดงามเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าประเภท “บริการ” อาทิ รอยยิ้ม ความช่วยเหลือ การดูแล ผู้เยี่ยมเยือนเพียงแต่ได้รับ “บริการ” เหล่านั้นในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ไม่ได้เป็นเจ้าของ
           ดังนั้นจึงสามารถจำแนกองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้ออกเป็น
-องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักท่องเที่ยว (องค์ประกอบหลัก)
1. สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว
2. ธุรกิจการคมนาคมขนส่ง
3. ธุรกิจที่พักแรม
4. ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร
5. ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
-องค์ประกอบที่สนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยว (องค์ประกอบเสริม)
1. ธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
2. ธุรกิจ MICE
3. การบริการข่าวสารข้อมูล
4. การอำนวยความสะดวกทางด้านความปลอดภัย
5. การอำนวยความสะดวกในการเข้า-ออกเมือง

วัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยว
Swarbrook (2007)  ได้ระบุวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยว ไว้ดังนี้
•1. การท่องเที่ยวเพื่อเยียมเยือนเพื่อนและญาติพี่น้อง (Visiting Friends and Relatives)
•2. การท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ (Business Tourism)
•3. การท่องเที่ยวแบบอิงศาสนา (Religious Tourism)
•4. การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ (Health Tourism)
•5. การท่องเที่ยวแบบสวัสดิการ (Social Tourism)
•6. การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา (Educational Tourism)
•7. การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (Cultural Tourism)
•8. การท่องเที่ยวแบบชมทิวทัศน์ (Scenic Tourism)
•9. การท่องเที่ยวแบบการแสวงหาความสำราญ (Hedonistic Tourism)
•10. การท่องเที่ยวเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมหรือทำกิจกรรม (Activity Tourism)
•11. การท่องเที่ยวแบบมุ่งความสนใจพิเศษ (Special Interest Tourism)

ประเภทของนักท่องเที่ยว


ประเภทของนักท่องเที่ยว
การจัดประเภทของนักท่องเที่ยวสามารถจำแนกได้หลายลักษณะ ดังนี้
1.ตามการจัดการเดินทาง
ก. Mass Tourists กลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนมาก มีการเดินทางท่องเที่ยวในรายการเดียวกัน พักโรงแรมในระดับเดียวกัน รับประทานอาหาร และทำกิจกรรมการท่องเที่ยวอื่น ๆ ในแบบเดียวกัน
ข. Eco Tourists นักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวโดยมีจุดประสงค์ที่มุ่งรักษาสภาพแวดล้อมของระบบนิเวศน์
       2. ตามจำนวนมากน้อยของนักท่องเที่ยว
ก. เป็นกลุ่ม (Group Tour หรือ Escort Tour)
ข. เป็นส่วนบุคคล (Independent Tour)
       3.ตามวัตถุประสงค์ของการเดินทาง  ความมุ่งหมายในการเดินทางของนักท่องเที่ยว ซึ่งแบ่งได้ 8 ประการ คือ
ก. การท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจในวันหยุด(holiday-mass Popular individual)
ข. การท่องเที่ยวเพื่อวัฒนธรรมและศาสนา (Cultural Religion) เป็นการเดินทางเพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมของสังคมต่างๆ เช่นการศึกษาความเป็นอยู่ การชมศิลปะ ดนตรี ละคร การนมัสการศูนย์ศาสนา เป็นต้น
ค. การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา(Educational) เป็นการเดินทางเพื่อการทำวิจัยการศึกษา สอนหนังสือ ฝึกอบรม หรือดูงานต่างประเทศ ซึ่งจะต้องพำนักอยู่สถานที่นั้นๆ เป็นเวลานาน
ง. การท่องเที่ยวเพื่อการกีฬาและบันเทิง (Sport and Recreation) คือการเดินทางไปชม หรือร่วมแข่งขันกีฬา หรือนันทนาการต่างๆ
จ. การท่องเที่ยวเพื่อประวัติศาสตร์ และความสนใจพิเศษ (Historical and special interests)
ฉ. การท่องเที่ยวเพื่องานอดิเรก (Hobbies) หมายถึงการท่องเที่ยวเพื่อทำงานอดิเรก เช่นการวาดภาพ การเขียนนวนิยาย เป็นต้น
ช. การท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมญาติมิตร (visiting Friend and Relative) การท่องเที่ยวเพื่อธุรกิจ(Business) เป็นการเดินทางของนักธุรกิจที่จัดเวลาบางส่วนของการเดินทางหลังจะทำธุรกิจเสร็จสิ้นแล้ว ใช้เวลาในการท่องเที่ยวก่อนเดินทางกลับ
        4.ตามวิธีการเดินทาง
ก. แบบเหมาจ่าย (Package Tour)
ข. แบบเบ็ดเสร็จ (Inclusive Tour)
ค. แบบเป็นรางวัล (Incentive Tour)
ง. แบบเช่าเหมาลำ (Charter Tour)
           5. ตามอายุ
           6. ตามเพศ
           7. ตามฐานะทางสังคม
           8. ตามประสบการณ์และบทบาท
ก. The organized mass Tourists
ข. The individual mass Tourists
ค. The explorer
ง. The drifter

ที่มา  http://touristbehaviour.wordpress.com/1/

การกำหนดรูปแบบพฤติกรรมนักท่องเที่ยว

การกำหนดรูปแบบพฤติกรรมนักท่องเที่ยว
           นักวิชาการด้านการท่องเที่ยวได้กำหนดรูปแบบของนักท่องเที่ยว (Typology : a systematic classification or study of types) เพื่ออธิบายพฤติกรรมนักท่องเที่ยว การพัฒนารูปแบบของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ได้มาจากข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์หรือการใช้แบบสอบถาม (questionnaire) การกำหนดรูปแบบพฤติกรรมนักท่องเที่ยวอาจทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และวิธีการที่ใช้
            การกำหนดรูปแบบพฤติกรรมนักท่องเที่ยวรูปแบบพื้นฐานที่สุดคือ การแบ่งนักท่องเที่ยวออกเป็น 2 กลุ่ม ตามลักษณะของพฤติกรรมของการเดินทาง คือ การแบ่งว่าบุคคลนั้นเป็น 1) นักท่องเที่ยว (Tourists) หรือ 2) นักเดินทาง (travelers) นักท่องเที่ยวคือ บุคคลซึ่งซื้อรายการนำเที่ยวเหมาจ่ายจากบริษัทนำเที่ยว ในขณะที่นักเดินทางคือบุคคลซึ่งจัดการการเดินทางด้วยตนเอง เช่น ซื้อตั๋วเครื่องบินเอง จองที่พักเอง กำหนดสถานที่ท่องเที่ยวด้วยตนเอง เป็นต้น
            Perreault  และ  Dorden (1979) ได้เสนอรูปแบบพฤติกรรมนักท่องเที่ยวออกเป็น  4  รูปแบบ ได้แก่
1)  นักท่องเที่ยวแบบประหยัด (Budget Travelers) โดยทั่วไปแล้วนักท่องเที่ยวประเภทนี้ทีรายได้ปานกลาง แต่แสวงหาการหยุดพักผ่อนหรือท่องเที่ยวที่ใช้ค่าใช้จ่ายต่ำ
2)  นักท่องเที่ยวชอบผจญภัย (Adventurous Travelers) เป็นนักท่องเที่ยวที่มีการศึกษาดีและมีรายได้ปานกลางถึงสูง มีความชื่นชอบในกิจกรรมระหว่างการหยุดพักผ่อนหรือการท่องเที่ยวแบบผจญภัย
3)  นักท่องเที่ยวประเภทเดินทางระหว่างวันหยุด (Vacationers Travelers) เป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มเล็กๆ ซึ่งมักใช้เวลาในการคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยวหรือการเดินทางในครั้งต่อไปว่าจะไปที่ไหน อย่างไร นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ค่อนข้างมีความกระตือรือร้นแต่มีรายได้ค่อนข้างนัอย
4)  นักท่องเที่ยวแบบชอบเดินทางโดยใช้ระยะเวลาเดินทางยาวนาน (Moderates Travelers) เป็นนักท่องเที่ยวที่มีใจรักการท่องเที่ยวเดินทางอย่างมากแต่ไม่สนใจการท่องเที่ยวในระหวางวันหยุดสุดสัปดาห์หรือการใช้เวลากับการเล่นกีฬา แต่จะชอบการเดินทางที่ใช้ระยะเวลานานมากกว่า
Cohen (1979) ได้เสนอรูปแบพฤติกรรมนักท่องเที่ยวไว้ ดังนี้
1) นักท่องเที่ยวแบบนันทนาการ (Recreational Tourists) เป็นนักท่องเที่ยวซึ่งเน้นความสำคัญในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนันทนาการหรือการพักผ่อนทางร่างกาย
2)  นักท่องเที่ยวแบบปลีกตัวหาความเพลิดเพลิน (The Diversionary Tourists) เป็นนักท่องเที่ยวที่พยายามทางแนวทางเพื่อลืมความจำเจในชีวิตประจำวัน
3)  นักท่องเที่ยวมุ่งหาประสบการณ์ (The Experiential Tourists) เป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางเพื่อแสวงหาประสบการณ์ที่แท้จริง นักท่องเที่ยวประเภทนี้สนใจศึกษาและได้รับ
ประสบการณ์ที่แท้จริงของแหล่งท่องเที่ยวที่ได้ไปสัมผัส ตัวอย่างเช่น เมื่อเดินทางไปประเทศสเปน ก็ต้องการสัมผัสวิถีชีวิตของผู้คนท้องถิ่นหรือวัฒนธรรมต่างๆ ที่แท้จริงเป็นของสเปน
4)  นักท่องเที่ยวแบบชอบทดลอง (The Experimental Tourists) มีลักษณะที่เห็นเด่นชัดคือ ชอบติดต่อพูดคุยกับคนท้องถิ่นเพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจในชีวิตความเป็นอยู่ การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมของคนท้องถิ่น
5)  นักท่องเที่ยวที่ใช้ชีวิตแบบคนท้องถิ่น (The Existential Tourists) นักท่องเที่ยวประเภทนี้ต้องการฝังตัวเองหรือใช้ชีวิตภายใต้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตเดียวกับคนท้องถิ่น นักท่องเที่ยวประเภทนี้จะใช้เวลาอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวนั้นเป็นเวลานาน ตัวอย่างเช่น นักท่องเที่ยวที่มาใช้เวลาอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวบางแห่งในประเทศไทย เช่น พัทยาหรือเชียงใหม่ และพยายามใช้ชีวิตเช่นเดียวกับคนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตัว การับประทานอาหาร การพยายามพูดภาษาท้องถิ่น เป็นต้น
สำนักงานเศรษฐกิจศึกษา  Westvlaams (1986, อ้างจาก Swarbrook และ Horner 1999) ได้เสนอรูปแบพฤติกรรมนักท่องเที่ยวไว้ ดังนี้
•1)      นักท่องเที่ยวประเภทหลงใหลในทะเล (Active sea lovers)
2)  นักท่องเที่ยวประเภทชอบผูกมิตร (Contact-minded holiday makers) มีจิตใจชอบติดต่อพบปะกับผู้อื่น แสวงหามิตรใหม่โดนเฉพาะที่เป็นคนท้องถิ่น
3)  นักท่องเที่ยวประเภทชอบชมธรรมชาติ (Nature Viewers) ชอบความงดงามของภูมิทัศน์ของแหล่งท่องเที่ยว
4)  นักท่องเที่ยวประเภทแสวงหาการพักผ่อน (Rest-seekers) ใช้เวลาไปกับการนอนพักผ่อนหย่อนใจมากกว่าการทำกิจกรรมอื่นๆ
5)  นักค้นหา (Discovers) ชอบกิจกรรมประเภทผจญภัยและชอบแสวงหามิตรใหม่
6)  นักท่องเที่ยวแบบเดินทางพร้อมครอบครัว (Family-orientated) เป็นนักท่องเที่ยวที่หลงใหลในแสงแดดและทะเล และชอบเดินทางท่องเที่ยวแบบไปเป็นครอบครัว
7)  นักท่องเที่ยวแบบประเพณีนิยม (Traditionalists) ชอบเดินทางท่องเที่ยวที่เน้นความปลอดภัยและไม่เสี่ยงภัย
ที่มา   http://touristbehaviour.wordpress.com/1/

ความหมายของพฤติกรรมนักท่องเที่ยว

                 พฤติกรรมนักท่องเที่ยว  เป็นการกระทำทุกอย่างของนักท่องเที่ยวไม่ว่าการกระทำนั้นนักท่องเที่ยวจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม  และบุคคลอื่นจะสังเกตการกระทำนั้นได้หรือไม่ก็ตามก็เพื่อมุ่งตอบสนองสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสภาพการณ์ใดสภาพการณ์หนึ่ง  โดยพฤติกรรมภายนอกของนักท่องเที่ยว (Tourist’s Overt Behaviour) เป็นพฤติกรรมที่ผู้อื่นสังเกตได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส  ส่วนพฤติกรรมภายในของนักท่องเที่ยว (Tourist’s Covert Behaviour)  เป็นการทำงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายรวมทั้งความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ที่ถูกควบคุมอยู่ภายในจะมีความสัมพันธ์กัน  โดยพฤติกรรมภายในจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมภายนอกเป็นส่วนใหญ่
           องค์ประกอบของพฤติกรรมนักท่องเที่ยวนั้นมีองค์ประกอบสำคัญ  7  ประการ  คือ
           1. เป้าหมาย  หมายถึง  พฤติกรรมนักท่องเที่ยวทุกๆ พฤติกรรม  จะต้องมีเป้าหมายในการกระทำ  เช่น  นักท่องเที่ยวกลุ่มอนุรักษ์ต้องการ เกียรติยศโดยการแสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าตนเดินทางท่องเที่ยวโดยที่สภาพแวดล้อมในสถานที่ตนเดินทางยังคงสภาพความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ดังเดิม
            2.  ความพร้อม  หมายถึง  ความมีวุฒิภาวะ  และความสามารถในการทำกิจกรรม  เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ  เช่น  นักท่องเที่ยวกลุ่มที่รักความผจญภัย  นิยมไต่เขา  ปีนหน้าผาต้องมีความพร้อมทั้งสภาพร่างกายและจิตใจแล้วสามารถจะทำกิจกรรมที่ตนชอบได้
            3.  สถานการณ์ หมายถึง  เหตุการณ์หรือโอกาสที่เอื้ออำนวยให้เลือกกระทำกิจกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการ  เช่น  การท่องเที่ยวตามหมู่เกาะ  ควรกระทำในยามคลื่นลมสงบ  ไม่ควรทำในขณะที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง
            4.  การแปลความหมาย  หมายถึง  วิธีการคิดแบบต่างๆ  เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่พอใจมากที่สุดในสถานการณ์หนึ่ง ๆ  เช่น  เวลาสิบสองนาฬิกา  เป็นเวลาที่นักท่องเที่ยวควรเป็นเวลาที่นักท่องเที่ยวควรหยุดพักรับประทานอาหารกลางวัน
            5.  การตอบสนอง  คือ  การตัดสินใจกระทำกิจกรรมตามที่ตนได้ตัดสินใจเลือกสรรแล้ว  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ  เช่น  นักท่องเที่ยวได้ตัดสินใจที่จะเดินทางท่องเที่ยวในช่วงวันหยุด เพื่อพักผ่อน ดังนั้นนักท่องเที่ยวจะต้องวางแผนการเดินทาง และจัดการดำเนินการล่วงหน้า ในการกระทำกิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ตั้งแต่กิจกรรมการกำหนดสถานที่ท่องเที่ยว กิจกรรมการเดินทาง กิจกรรมการจองที่พัก เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง
            6.  ผลลัพธ์ที่ตามมา  คือ  ผลจากการกระทำหนึ่ง ๆ  อาจได้ผลตามที่คาดหมายไว้  หรืออาจตรงกันข้ามกับความคาดหวังที่ตั้งใจไว้  เช่น นักท่องเที่ยวได้มีกำหนดการเดินทางไว้เพื่อมาพักผ่อนวันหยุดในประเทศไทย แต่ปรากฏว่าในเวลานั้นเกิดการชุมนุมที่สนามบิน และทำให้สนามบินต้องปิดทำการ เครื่องบินไม่สามารถลงจอดได้ มีผลลัพธ์ทำให้นักท่องเที่ยวไม่สามารถบรรลุผลตามที่คาดหมายไว้ได้
            7.  ปฏิกิริยาต่อความผิดหวัง  คือ  ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อสิ่งที่กระทำลงไปไม่บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ  จึงต้องกลับมาแปลความหมาย  ไตร่ตรอง  เพื่อเลือกหาวิธีใหม่ๆ  มาตอบสนองความต้องการ  หรืออาจจะเลิกความต้องการไป  เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่เกินความสามารถ     เช่น การก่อวินาศกรรมในเมืองมุมไบ ประเทศอินเดียในเดือนพฤศจิกายน ปี 2008 นักท่องเที่ยวที่ตั้งใจจะเดินทางไปเมืองดังกล่าว จะต้องเกิดความผิดหวังเพราะเกิดความกังวลด้านความปลอดภัย และอาจล้มเลิกความตั้งใจในการเดินทาง หรืออาจเปลี่ยนเส้นทางไปเมืองอื่นที่ปลอดภัยกว่า
พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว (Tourist Behavior) หมายถึง การแสดงออกของแต่ละบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้สินค้าและบริการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว รวมทั้งกระบวนการในการตัดสินใจที่มีผลต่อการแสดงออก
ประโยชน์ของการศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยว
>ช่วยให้นักการตลาดเข้าใจถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยว>ช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถหาหนทางแก็ไขพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวในสังคมได้ถูกต้องและสอดคล้องกับความสามารถในการตอบสนองของธุรกิจท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น
>ช่วยให้การพัฒนาตลาดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์สามารถทำได้ดีขึ้น
>เพื่อประโยชน์ในการแบ่งส่วนตลาด เพื่อการตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว ให้ตรงกับชนิดของสินค้าและบริการที่ต้องการ
>ช่วยในการปรับปรุงกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจท่องเที่ยวต่าง ๆ เพื่อความได้เปรียบคู่แข่งขัน
กระบวนการพฤติกรรม (Process of Behavior)<
>พฤติกรรมเกิดขึ้นได้ต้องมีสาเหตุทำให้เกิด
>พฤติกรรมเกิดขึ้นได้จะต้องมีสิ่งจูงใจหรือแรงกระตุ้น
>พฤติกรรมที่เกิดขึ้นย่อมมุ่งไปสู่เป้าหมาย
ที่มา  http://touristbehaviour.wordpress.com/1/