วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Tourism Thailand

ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=DEjcComji0o&feature=fvwrel

สถานที่ท่องเที่ยวสุดขีด

ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=P8BHCaM_oa8

10 แหล่งสถานที่ท่องเที่ยว ช่วงฤดูฝน

ใครว่า….หน้าฝนต้องนั่งกร่อย ได้แค่มองแต่หน้าต่าง หากแต่ใต้ผืนฟ้าช่วงหน้าฝนมีเรื่องมหัศจรรย์ให้นักท่องเที่ยวได้ค้นหาอีกเยอะ
ใครจะรู้ว่าบ้างว่าหลังจากเม็ดฝนที่โปรยปรายจะเนรมิตเสน่ห์ความสดชื่น ของท้องฟ้า สายน้ำ ผืนป่า และพืชพรรณ ให้สวยงามได้ขนาดนี้ ฟ้าฝนไม่ใช่อุปสรรคสำคัญ สำหรับการก้าวเดินของเหล่าบรรดาผู้ที่หลงรักการท่องเที่ยว เพราะในทุกฤดูฝน ความงามที่แตกต่างของธรรมชาติจะปรากฎให้เห็นในมุมมองใหม่ที่สดชื่นกว่าเดิม สามารถเรียกพลังความสดใสกลับมา

เริ่มจากการเดินทางระยะไกลๆ กันที่ 1 จังหวัดนครศรีธรรมราช มีโปรแกรม “เที่ยวป่าและน้ำตกกรุงชิง” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติเขาหลวง จ. นครศรีธรรมราช ที่ถือว่ามีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติสูงมากเป็นป่าดิบชื้นที่แน่นทึบตั้งแต่ราบต่ำถึงเชิงเขา ทำให้ที่นี่นับเป็นแหล่งดูนกที่น่าสนใจที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “สวรรค์ของนกแดนใต้” ขณะที่น้ำตกกรุงชิงเอง ไม่น้อยหน้า เพราะมีความสูงถึง 7 ชั้น และความงามที่แตกต่างในแต่ละชั้นให้ได้ประหลาดใจ

ขึ้นมาภาคเหนือภูมิใจเสนอ  2 โปรแกรมเที่ยว ป่าเพชรบูรณ์  อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ซึ่งความแปลกตาของป่าผืนนี้คือ ป่าสน ที่อายุไม่ต่ำกว่า 100 ปี ทำให้ต้นสนที่นี่สูงลิบตา 30-40 เมตรตระหง่านเรียงรายตัดกับพื้นหญ้าเขียวขจีบนภูเขาเพชรบูรณ์ที่สลับซับซ้อน ผสมกับอากาศหนาวเย็นปกคลุมตลอดปี เย้ายวนให้นักท่องเที่ยวเร่งฝีเท้าเข้ารับความสดชื่นในป่าผืนนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก

ก่อนเดินทางไปที่ จุดหมายที่ 3 อำเภอเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่ มีอะไรมากกว่าที่คิด เพราะที่นี่ อุทยานแห่งชาติเชียงดาวและดอยผาแดง ซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำปิงและแม่แตง มีความอุดมสมบูรณ์ของป่ามากแห่งหนึ่งของภาคเหนือ โดยมีทิวทัศน์ที่สวยงามบนยอดดอยเป็นเป้าหมายที่ท้าทายสำหรับภาระกิจการเดินทางเที่ยวป่าครั้งนี้

หากต้องการสถานที่สำหรับครอบครัว 4 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ที่ครอบคลุม 4 จังหวัด คือ จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดนครนายก ยังเป็นคำตอบที่ดีด้วย สมญานามแห่งการเป็นอุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน ทำให้ที่นี่แม้เป็นฤดูฝน แต่สภาพ่ก็ชุ่มฉ่ำ ป่าไม้ทุ่งหญ้าเขียวขจีสดสวย น้ำตกทุกแห่งไหลแรงส่งเสียงดังก้องป่า ให้ชีวิตชีวาแก่ผู้ไปเยือน

สถานที่แห่งที่ 5 ขอแนะนำ อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ตั้งครอบคลุมพื้นที่รอยต่อของสองจังหวัด คือ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งในหน้าฝนนั้นเส้นทางที่เดินไปยังจุดท่องเที่ยวต่างๆทั้งลานหินปุ่ม ผาชูธง หรือลานหินแตก ปรากฎความเขียวชะอุ่มของมอสสีเขียวสดตัดกับแนวพื้นหิน และทิวป่า 3 ประเภททั้ง  ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา และป่าสนเขาที่ถ่ายทอดความสุนทรีย์ของวอลล์เปเปอร์ธรรมชาติได้ต่างกัน

ใครอยากได้ความเร้าใจกับกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จุดหมายที่ 6 โปรแกรม ล่องแก่งลำน้ำเข็ก ที่จังหวัดพิษณุโลก การันตีได้ถึงความมันส์ เพราะความท้าทายในการล่องแก่งช่วงกลางของลำน้ำแห่งนี้ ถือว่ามีระดับความยากสูง ระดับ 5 ของการล่องแก่งอันดับต้น ๆ ของสายน้ำในประเทศไทย

หากยังต้องการเพิ่มดีกรีความตื่นเต้นจากกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงผจญภัย แหล่งที่ 7  ขอแนะนำลำน้ำที่เชี่ยวกรากอีกที่อย่าง “แก่งหินเพิง” จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งกิจกรรมล่องแก่งจะเริ่มต้นขึ้นในทุกช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี หรือช่วงหน้าน้ำที่จะช่วยเติมเต็มความสนุกสนามจากการล่องแก่งได้มากที่สุด ระยะทางการล่องแก่งที่นี่ยาว 2.5 กิโลเมตรและมีระดับความยากถึงระดับ 5 เช่นกัน

สถานที่แห่งที่ 8 เป็นการผสมผสานระหว่างความท้าทายเหนือสายน้ำ และทิวทัศน์บรรยากาศธรรมชาติที่ถูกสร้างสรรค์อย่างสวยงาม นั่นคือ วังตะไคร้ จังหวัดนครนายก ที่นี่นอกจาก น้ำตกจำลอง สวนไม้ดอกคุณท่าน และสระปทุมแล้ว ในฤดูฝนหลากการล่องแก่งห่วงยาง หรือแก่งแพยาง หรือจะเป็นกิจกรรมที่รอให้หลายๆคนฝ่าฝนออกมาค้นหา

2 สถานที่สุดท้ายในผืนแผ่นดินใกล้ๆกัน ที่จังหวัดตาก นักท่องเที่ยวสามารถ เริ่มต้นท่องเที่ยวจากแห่งที่ 9 เมืองอุ้มผาง ที่มีผืนป่าบริสุทธิ์ ไว้ให้ทอดน่องยลทัศนียภาพและอากาศบริสุทธิ์ของป่า หรือจะเลือกการนั่งช้างมองมุมสูง แวะสัมผัสกระแสน้ำตกสายที่กระเซ็นสดชื่น

หลังจากนั้นยังสามารถออกเดินทางออกจากอุ้มผสู่จุดหมายสุดท้ายที่ 10  ทีลอซู ด้วยการล่องแพ เมื่อใช้แพยางหรือไม้ไผ่ลัดเลาะสารพันแก่งสู้สายน้ำ ไปถึงน้ำตกทีลอซู ก็สุดจะคุ้มค่าแล้ว กับความงามของหนึ่งในน้ำตกที่ยิ่งใหญ่ด้วยความสูง 300 เมตร
สำหรับคนที่ตกลงปลงใจเก็บกระเป๋าย่ำเท้าเที่ยวหน้าในฝนนี้ คงต้องมองหาความปลอดภัยโดยการศึกษาข้อมูลสภาพฟ้าฝนและการเดินทางก่อนนะคะ เพราะบ่อยครั้งน้ำมากเกินไป หรือฝนตกหนักจนดินถล่มก็อาจเป็นอุปสรรคและอันตรายต่อการเดินทางได้

ที่มา    http://www.tlcthai.com/travel/5655

10 อันดับ ''ที่สุดในโลก''

ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=AoMWkdBUr5U&feature=related

แหล่งมรดกโลกของไทย

         
           คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2530 และเห็นชอบให้นำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของไทยรวม 6 แหล่ง เพื่อบรรจุไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก ได้แก่
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
อุทยานแห่งชาติทางทะเลหมู่เกาะตะรุเตา
และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง
          นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2532 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้ส่งผู้แทน เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกเป็นประจำทุกปี เพื่อรับทราบแนวทางในการอนุรักษ์และจัดการแหล่งมรดกโลกในระดับสากลเพื่อนำมาเป็นแนวทางการดำเนินงานในประเทศ ในสมัยประชุมของสมัชชาของประเทศภาคีในอนุสัญญาฯ ครั้งที่ 7 ปี พ.ศ. 2532 ประเทศไทยได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการมรดกโลกซึ่งมีทั้งหมด 21 คนจาก 21 ประเทศ โดยได้รับการเลือกตั้งและมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี ต่อมาในปี พ.ศ 2533 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกขึ้นโดยมี ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ เป็นประธาน และสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมเป็น ฝ่ายเลขานุการ เพื่อดำเนินงานต่างๆให้เป็นไปตามข้อผูกพันของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก เช่น การเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลก การเสาะแสวงหาแหล่งมรดกวัฒนธรรมและธรรมชาติที่มีคุณค่าและความสำคัญ เสนอเพื่อบรรจุไว้ในบัญชีแหล่งรายชื่อมรดกโลกรวมทั้งการให้ความคุ้มครอง สงวนรักษาส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติให้คงอยู่เป็นมรดกของมวลมนุษยชาติตลอดไป เป็นต้น นอกจากนั้นคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกนี้ ยังมีหน้าที่ในการประสานงานและสอดส่องดูแลให้มีการดำเนินงาน ตามแผนการจัดการแหล่งมรดกโลกด้วย ซึ่งคณะกรรมการแห่งชาติฯ ได้ร่วมกันปรับปรุงข้อมูลรายละเอียดของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม และธรรมชาติ 6 แหล่งที่ได้ทำการเสนอไปแล้วให้เป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของคณะกรรมการมรดกโลก และคณะกรรมการมรดกโลกได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบข้อเท็จจริงและศักยภาพ ของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติทั้ง 6 แหล่ง โดยละเอียดและในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 15 ปี พ.ศ. 2534 ที่ประเทศสาธารณรัฐตูนิเซีย ได้ประกาศให้แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศไทยจำนวน 2 แหล่ง คือ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร และอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และแหล่งมรดกทางธรรมชาติ 1 แหล่ง คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ได้รับการบรรจุไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก และในปีถัดมาคือ พ.ศ. 2535 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 16 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมอีกแหล่งหนึ่งด้วย
โดยสรุปแล้วปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีโบราณสถานที่ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกอันนำมาซึ่งชื่อเสียง เกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง 3 แห่ง ได้แก่
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ศรีสัชนาลัย – กำแพงเพชร
อุทยานประวัติศาสตร์ทั้ง 3 แห่ง อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันและมีอายุไล่เลี่ยกัน อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ในอดีตเคยเป็นนครหลวงแห่งแรกของไทย อุทยานประวัติศาสตร์ ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ในอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ในอดีตศรีสัชนาลัย มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงเอกของสุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ไม่ไกลจากเมืองเก่าสุโขทัยเท่าใดนัก ในอดีตเมืองกำแพงเพชรถือเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัย
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
ตั้งอยู่ที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา ภายในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาประกอบด้วยโบราณสถานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวัดมงคลบพิตร พระราชวังโบราณ วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดพระราม วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และ เพนียดคล้องช้าง ล้วนเป็นหลักฐานทางอารยธรรมซึ่งแสดงถึงระยะเวลาอันสงบสุขและเป็นปึกแผ่นที่ยาวนานที่สุดช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ในฐานะที่เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ได้ค้นพบหลักฐานจำนวนมาก ที่สำคัญได้แก่ โครงกระดูกในหลุมฝังศพ ภาชนะดินเผาลายเขียนสี เครื่องมือเครื่องใช้ และเครื่องประดับที่ทำด้วยสำริดและเหล็ก
บทกำหนดโทษกรณีฝ่าฝืนหรือกระทำผิดพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติโบราณสถานฯ ได้บัญญัติบทกำหนดโทษสำหรับ การกระทำความผิดต่อโบราณสถานไว้ 3 มาตรา ได้แก่ มาตรา 32 มาตรา 34 และมาตรา 35 ซึ่งเมื่อได้พิจารณาบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว สามารถสรุปกรณีการกระทำความผิดต่อโบราณสถานได้ดังนี้
การกระทำที่เป็นเหตุให้ต้องรับโทษตามมาตรา 32 ได้แก่ การบุกรุก ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมเสีย หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งโบราณสถาน ถ้าเป็นการกระทำต่อโบราณสถานที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน มีโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินเจ็ดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าเป็นการกระทำต่อโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว มีโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การกระทำที่เป็นเหตุให้ต้องรับโทษตามมาตรา 34 ได้แก่ กรณีโบราณที่ขึ้นทะเบียนและมีเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ชำรุด หักพัง หรือเสียหาย แล้วไม่แจ้งเป็นหนังสือให้อธิบดีกรมศิลปากรทราบภายในสามสิบวัน กรณีมีการโอนโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้วไม่แจ้งการโอนให้อธิบดีกรมศิลปากรทราบ และกรณีไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่กำหนดให้ผู้เข้าชมปฏิบัติ (กฎกระทรวงฉบับที่ 1 พ.ศ. 2539) และเสียค่าธรรมเนียมเข้าชมโบราณสถาน (กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2539) มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การกระทำที่เป็นเหตุให้ต้องรับโทษตามมาตรา 35 ได้แก่ กรณีที่ซ่อมแซม แก้ไข เปลี่ยนแปลง รื้อถอน ต่อเติม ทำลาย เคลื่อนย้ายโบราณสถานหรือ ส่วนต่างๆ ของโบราณสถาน หรือขุดค้นสิ่งใดๆ ภายในบริเวณโบราณสถาน หรือปลูกสร้างอาคารภายในบริเวณโบราณสถานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมศิลปากร หรือฝ่าฝืนเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดไว้ในหนังสืออนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
           พิจารณาคัดเลือกแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม และธรรมชาติ โดยมี ICOMOS (International Council on monuments and Sites) และ IUCN (World Conservation Union) เป็นองค์กรที่ปรึกษาด้านวิชาการ ในการพิจารณาข้อเสนอของแหล่งมรดกโลก ตลอดจนจัดทำรายงานผลการประเมินความเหมาะสมของแหล่งที่นำเสนอเป็นมรดกโลกด้วย บริหารกองทุนมรดกโลก รวมทั้งพิจารณาจัดสรรให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและการเงินต่อประเทศที่ร้องขอมาอีกด้วย
ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก
แหล่งมรดกทางวัฒนธรรม
เป็นตัวแทนซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ ด้านศิลปกรรมหรือตัวแทนของความงดงาม และเป็นผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาดยิ่ง หรือ
เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวนและภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม หรือ
เป็นเอกลักษณ์ หายากยิ่ง หรือเป็นของแท้ดั้งเดิม หรือ
เป็นตัวอย่างของลักษณะโดยทั่วไปของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม หรือ
เป็นตัวอย่างของลักษณะเด่นชัด หรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ที่มีความเปราะบางด้วยตัวมันเอง หรือเสื่อมสลายได้ง่ายเพราะผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่ไม่สามารถกลับคืนดังเดิมได้ หรือมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ หรือ
มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

ประเภทของโบราณสถาน
การแบ่งแยกประเภทของโบราณสถานอาจกระทำได้ 2 วิธี โดยแบ่งแยกจากหลักการที่ใช้ในการพิจารณาซึ่งได้แก่ หลักกรรมสิทธิ์ และหลักการขึ้นทะเบียน หากใช้หลักกรรมสิทธิ์ในการพิจารณาก็จะแบ่งประเภทของโบราณสถานได้เป็น
โบราณสถานที่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย
โบราณสถานที่ไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย
แต่ถ้าใช้หลักการขึ้นทะเบียนในการพิจารณา โบราณสถานก็จะถูกแบ่งออกเป็นสองประเภทเช่นเดียวกัน คือ
โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียน
โบราณสถานที่มิได้ขึ้นทะเบียน
การขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
การขึ้นทะเบียนโบราณสถานเป็นหลักการที่ปรากฏมานานตั้งแต่สมัย ที่ใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยโบราณสถาน ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ และการพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พ.ศ. 2477 ก็มีหลักการขึ้นทะเบียนโบราณสถานนี้อยู่แล้วแต่กฎหมายมิได้ใช้คำว่า “การขึ้นทะเบียน” เช่นในปัจจุบันแต่ใช้คำว่า “จัดทำบัญชี” ดังจะเห็นได้จากมาตรา 6 ซึ่งบัญญัติว่า
“มาตรา 6 ให้อธิบดีจัดทำบัญชีบรรดาโบราณสถานทั้งหลายที่มีอยู่ในประเทศสยามขึ้นไว้ ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถานที่มีเจ้าของเป็นของเอกชนคนใดหรือไม่มีเจ้าของ หรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน รวมทั้งโบสถ์ วัดวาอาราม และสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นอันเกี่ยวแก่ศาสนา บัญชีนั้นบุคคลใดๆ ย่อมตรวจดูและขอคัดสำเนาได้ หรือขอรับสำเนาบัญชีหรือย่อรายการอันรับรองว่าถูกต้องได้ โดยเสียค่าธรรมเนียมตามที่อธิบดี จะกำหนดไว้ แต่ไม่เกินห้าบาท”
ในกฎหมายฉบับปัจจุบัน คำว่า “จัดทำบัญชี” ก็ยังคงหลงเหลือให้เห็นกันอยู่บ้าง ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ว่า
“มาตรา 8 บรรดาโบราณสถานซึ่งอธิบดีกรมศิลปากรได้จัดทำบัญชี และประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ และการพิพิธภัณฑ์แห่งชาติแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้วตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย”

ที่มา    http://www.baanjomyut.com/library_2/historic_site/05.html

สถานที่ท่องเที่ยวสุโขทัย

ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=T9fggv-Nq_k&feature=related

รูปแบบของการท่องเที่ยว

              การท่องเที่ยว เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กับตัวเองอีกแนวหนึ่ง ที่ทำให้เกิดความสุข สนุกสนาน เพลิดเพลิน บันเทิงใจ และเกิดการเรียนรู้ ซึ่งทุกคนต่างก็รู้จักความหมาย และวัตถุประสงค์ของการท่องเทียวกันอยู่บ้างแล้ว  

             ในช่วงหลัง เมื่อไม่กี่ปีมานี้ การท่องเที่ยวไทยได้รับการกระตุ้นให้ตื่นตัวเป็นอย่างมาก จนเกิดเป็นกระแสการท่องเที่ยวที่นับว่ามาแรงมากเลยทีเดียว และด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้มีการจัดรูปแบบของการท่องเที่ยวภายในประเทศให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความแปลกใหม่ที่น่าสนใจและสามารถดึงดูดใจนักท่องเที่ยวได้อย่างดี  

การจัดรูปแบบการท่องเที่ยวในประเทศไทยนั้น ได้แบ่งออกไปตามปัจจัยหลายๆ อย่าง ซึ่งทำให้การท่องเที่ยวเกิดขึ้นในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปอย่างหลากหลาย แต่รูปแบบการท่องเที่ยวที่ Travel in Thailand ได้จัดแบ่งไว้ มีดังนี้  

1. รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ (natural based tourism) ได้แก่  

1.1 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (ecotourism) เป็นการท่องเที่ยวไปในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องภายใต้การจัดการสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่งมีส่วนร่วมของท้องถิ่นเพื่อมุ่งเน้นการปลูกจิตสำนึกที่ดีในการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน  

1.2 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล (marine ecotourism) เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติทางทะเลที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศทางทะเล อย่างมีความรับผิดชอบ และเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องภายใต้การจัดการสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่งมีส่วนร่วมของท้องถิ่นเพื่อมุ่งเน้นการปลูกจิตสำนึกที่ดีในการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน   

1.3 การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา (geo-tourism) เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่มีลักษณะเป็นหินผา ลานหินทราย อุโมงค์โพรง ถ้ำน้ำลอด ถ้ำหินงอกหินย้อย เพื่อชมความงามและศึกษาภูมิทัศน์ต่างๆ บนพื้นผิวโลกที่เกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นหิน ดิน แร่ต่างๆ และฟอสซิล เพื่อให้เกิดความรู้และได้รับประสบการณ์ที่แปลกใหม่ บนพื้นฐานของจิตสำนึกในการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบต่อการรักษาสภาพแวดล้อม โดยประชาชนในท้องถิ่นจะมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว  

1.4 การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (agro tourism) เป็นการท่องเที่ยวในพื้นที่เกษตรกรรม ไร่ สวน ฟาร์มปศุสัตว์ สวนสมุนไพร เพื่อชมความงาม และเกิดการเรียนรู้ และประสบการณ์ โดยมีจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อการรักษาสภาพแวดล้อมของสถานที่นั้นๆ    

1.5 การท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ (astrological tourism) เป็นการท่องเที่ยวเพื่อชมและศึกษาปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ และเรียนรู้ระบบสุริยจักรวาล เช่น สุริยุปราคา จันทรุปราคา ฝนดาวตก และการดูดาวจักราศี ให้เกิดความรู้ ความประทับใจ ความทรงจำ และประสบการณ์ โดยจะต้องมีจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อการรักษาสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งประชาชนในท้องถิ่นจะมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวร่วมกันอย่างยั่งยืน   

2. การท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม (cultural based tourism) ได้แก่   
      
2.1 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ (historical tourism) เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งโบราณคดี และประวัติศาสตร์ เพื่อชมความงาม ให้เกิดความเพลิดเพลินใจ และเพื่อเรียนรู้ ให้เกิดเป็นประสบการณ์ โดยนักท่องเที่ยวจะต้องมีจิตสำนึกและรับผิดชอบต่อการรักษามรดกทางวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อม โดยประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ จะมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวด้วย 

2.2 การท่องเที่ยวชมงานวัฒนธรรมและประเพณี (cultural and traditional tourism) เป็นการท่องเที่ยวเพื่อชมและร่วมงานประเพณีต่างๆ ที่ชาวบ้านท้องถิ่นนั้นๆ จัดขึ้น ให้เกิดความเพลิดเพลิน ความทรงจำ และประสบการณ์ที่ดี รวมทั้งเพื่อเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น พิธีกรรม และความเชื่อต่างๆ ด้วยการมีจิตสำนึกที่ดีและมีความรับผิดชอบในการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ซึ่งเป้นมรดกอันล้ำค่า โดยชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นๆ จะมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว   

2.3 การท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตในชนบท (rural tourism / village tourism) เป็นการท่องเที่ยวเพื่อศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในหมู่บ้านตามชนบท เรียนรู้การสร้างสรรค์ผลงานซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น เพื่อให้เกิดความรู้ ประสบการณ์ ความเข้าใจในวัฒนธรรมท้องถิ่น และเกิดความเพลิดเพลิน โดยจะมีชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นๆ เป็นส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว  

3. รูปแบบการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ (special interest tourism) ได้แก่   

3.1 การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (health tourism) เป็นการท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนและเรียนรู้วิธีการรักษาสุขภาพกายและใจ ในแหล่งธรรมชาติ และแหล่งวัฒนธรรม ให้เกิดความเพลิดเพลิน และสุนทรียภาพ ซึ่งอาจจัดอยู่ในรูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพและความงาม (health beauty and spa) โดยนักท่องเที่ยวจะต้องมีจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น และประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ จะมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวด้วย   

3.2 การท่องเที่ยวเชิงทัศนศึกษาและศาสนา (edu-meditation tourism) เป็นการท่องเที่ยวเพื่อการทัศนศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปรัชญาทางศาสนา สัจธรรมแห่งชีวิต ด้วยการฝึกสมาธิ โดยจะได้รับประสบการณ์และความรู้ที่แปลกใหม่ และทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ต้องมีจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น และประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ ให้การมีส่วนร่วมต่อการจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ซึ่งการท่องเที่ยวในรูปแบบนี้ จะมีนักท่องเที่ยวบางกลุ่มที่มุ่งเพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ไม่ว่าจะเป็นการทำอาหารไทย การนวดแผนไทย เป็นต้น   

3.3 การท่องเที่ยวเพื่อศึกษากลุ่มชาติพันธุ์หรือวัฒนธรรมกลุ่มน้อย (ethnic tourism) เป็นการท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยหรือชนเผ่าต่างๆ เพื่อประสบการณ์ และความรู้ใหม่ๆ ด้วยการมีจิตสำนึกต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่นซึ่งประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน   

3.4 การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (sports tourism) เป็นการท่องเที่ยวเพื่อการเล่นกีฬา ให้ได้รับความเพลิดเพลิน ความสนุกสนาน ความตื่นเต้นเร้าใจ ซึ่งก่อให้เกิดผลดีต่อทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นการดำน้ำ ตกปลา กอล์ฟ สนุกเกอร์ สกีน้ำ กระดานโต้คลื่น เป็นต้น โดยจะต้องมีจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งประชาชนในท้องถิ่นจะมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน   

3.5 การท่องเที่ยวแบบผจญภัย (adventure travel) เป็นการท่องเที่ยวที่สนุก ตื่นเต้น เร้าใจ ผจญภัยไปในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในแบบพิเศษ ซึ่งจะสร้างความทรงจำ ความประทับใจ และได้ประสบการณ์ใหม่ๆ จากการท่องเที่ยว   

3.6 การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ และฟาร์มสเตย์ (home & farm stay) เป็นการท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบใช้ชีวิตร่วมกับผู้ที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ แบบใกล้ชิด เพื่อที่จะเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรม รวมทั้ง ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมของท้องถิ่น ซึ่งชาวบ้านจะมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวในท้องถิ่นให้ยั่งยืน   

3.7 การท่องเที่ยวพำนักระยะยาว (longstay) เป็นการท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้ชีวิตในบั้นปลาย หรือผู้ที่ต้องการท่องเที่ยวในต่างแดนเป็นเวลานานอย่างน้อย 1 เดือน   

3.8 การท่องเที่ยวแบบให้รางวัล (incentive travel) เป็นการท่องเที่ยวที่ถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นการสมนาคุณแก่ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการทำยอดขายได้ตามเป้าหมาย โดยกลุ่มผู้แทนบริษัทต่างๆ จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าที่พัก และค่าอาหารระหว่างการเดินทาง ในระยะเวลา 2 - 7 วัน ซึ่งจะเป็นการนำเที่ยวชมสถานที่ต่างๆ หรืออาจมีการผสมผสานกับการท่องเที่ยวในรูปแบบอื่นๆ     

3.9 การท่องเที่ยวเพื่อการประชุม (MICE ย่อมาจาก M=meeting , I=incentive , C=conference , E=exhibition) เป็นการท่องเที่ยวเพื่อบริการให้กับผู้ที่เข้าร่วมประชุมที่มีการจัดรายการนำเที่ยวในรูปแบบต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งมีทั้งแบบเที่ยววันเดียว และแบบเที่ยวพักค้างแรม 2 - 4 วัน โดยมีการคิดราคาแบบเหมารวมค่าอาหารและบริการ โดยการนำเที่ยวจะมีก่อนประชุม (pre-tour) หรือ หลังประชุม (post-tour)   

3.10 การท่องเที่ยวแบบผสมผสาน เป็นการท่องเที่ยวอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ผู้จัดรายการนำเที่ยว ได้คัดสรรรูปแบบการท่องเที่ยวมาอย่างดีแล้ว เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับความแตกต่างจากการเดินทางท่องเที่ยวในระยะเวลาหลายวัน   


         นอกจากนี้ ยังมีการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอีกเยอะแยะ ซึ่งแตกงอกออกมาจากแนวคิดของนักท่องเที่ยวในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวเพื่อต้องการอนุรักษ์ธรรมชาติ ที่เรียกว่า Green tourism หรือการท่องเที่ยวเพื่อร่วมเป็นอาสาสมัครในการทำกิจกรรมเพื่อบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ที่เรียกว่า Volunteer tourism เป็นต้น  

แต่ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวในรูปแบบไหนก็ตาม นักท่องเที่ยวที่ดีจะต้องมีจิตสำนึกในการช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้ง ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของสถานที่นั้นๆ ด้วย เพราะจะทำให้เรามีสถานที่ท่องเที่ยวที่ยังคงสวยงามอย่างนี้ตลอดไป   

ที่มา  http://www.travel.in.th/th/review/knowledge/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7

ข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวชมโบราณสถาน

การท่องเที่ยวในรูปแบบนี้ นักท่องเที่ยวจะได้รับทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน อีกทั้งกลิ่นอายของประวัติความเป็นมาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและเคยเกิดขึ้นกับโบราณสถานนั้นๆ แต่ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวจะต้องพึงปฏิบัติในสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โบราณสถานที่ได้ไปเยือนด้วย ซึ่งในวันนี้ เราได้นำข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวชมโบราณสถาน มาบอกกล่าวเพื่อนๆ ไว้ด้วยค่ะ >>>

1. ไม่ควรสัมผัส ลูบคลำ แตะต้อง หรือเคลื่อนย้ายสิ่งต่างๆ ภายในบริเวณโบราณสถาน จนทำให้เกิดความเสียหาย ผิดเพี้ยน หรือเปลี่ยนลักษณะและตำแหน่งไปจากเดิม

2. ไม่ขีด เขียน วาด หรือการกระทำที่ก่อให้เกิดรูปรอยต่างๆ บนส่วนต่างๆ ของโบราณสถานเด็ดขาด

3. ไม่กระทำการใดๆ ที่ก่อให้เกิดการชำรุดและความเสียหายแก่โบราณสถานเด็ดขาด

4. ไม่ทิ้งขยะมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลที่ก่อให้เกิดความสกปรกแก่โบราณสถานเด็ดขาด

5. ไม่ควรปีนป่ายหรือเหยียบย่ำขึ้นไปบนโบราณสถานหรือโบราณวัตถุ เพราะอาจทำให้เกิดการชำรุดเสียหายขึ้น เนื่องจากโบราณสถานและโบราณวัตถุนั้น มีอายุเก่าแก่และสร้างขึ้นจากวัสดุต่างๆ ที่อาจแตกหักหรือพังทลายได้ง่าย

6. ไม่ควรหยิบฉวย หรือขโมยโบราณวัตถุและชิ้นส่วนของโบราณสถานกลับไปเป็นของที่ระลึกอย่างเด็ดขาด

7. ไม่ควรส่งเสียงดัง รบกวนนักท่องเที่ยวคนอื่นๆ ที่ต้องการมาสัมผัสกับกลิ่นอายและเรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง เพราะโบราณสถานแต่ละแห่งนั้น เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ต้องอาศัยความเงียบสงบในการเช้าชม เพื่อให้จิตใจสามารถสัมผัสกับเสน่ห์ที่แฝงอยู่ได้

ที่มา   ข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวชมโบราณสถาน

การเตรียมความพร้อมก่อนออกทริปดำน้ำ

ในการดำน้ำนั้น เราจะต้องมีการเตรียมความพร้อมให้ดี มิฉะนั้นอาจจะเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ..... วิธีการเตรียมความพร้อมก่อนออกทริปดำน้ำนั้นมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ >>>>

1. ความรู้เบื้องต้นในการดำน้ำ ..... ก่อนอื่นเราจะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการดำน้ำให้ดีก่อน ซึ่งการดำน้ำนั้น มีทั้งแบบ “ดำน้ำลึก” (Scuba Diving) และ “ดำน้ำตื้น” (Snorkeling) โดยแต่ละแบบจะมีวิธีการและการใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกันมาก ดังนั้น เราควรจะต้องเรียนรู้ทั้งทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติก่อนจะออกทริปดำน้ำ

2. การเข้าคอร์สเรียนดำน้ำ ..... นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง สำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากจะออกทริปดำน้ำ โดยเฉพาะการดำน้ำลึก ซึ่งจะต้องมีการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติให้ชำนาญเสียก่อน เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของตัวคุณเอง เพราะในคอร์สจะมีการเรียนการสอนทุกอย่างเกี่ยวกับการดำน้ำ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของอุปกรณ์ การเตรียมร่างกาย การฝึกหายใจ และการทดสอบการดำน้ำเบื้องต้น ฯลฯ ซึ่งในปัจจุบันนี้ มีสถาบันสอนดำน้ำเปิดให้บริการอยู่มากมายเลยละค่ะ แต่จะต้องเลือกดูให้ดีหน่อยนะคะ ว่ามีการรับรองการเปิดสถาบันอย่างถูกต้องรึเปล่า

3. ความพร้อมของร่างกาย ..... ก่อนที่เราจะเรียนหรือออกทริปดำน้ำนั้น ควรมีการพักผ่อนที่เพียงพอ และควรจะไปตรวจเช็คสุขภาพร่างกายของเราเสียก่อน ว่าเป็นโรคอะไรที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายในขณะดำน้ำ เช่น โรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับหู โรคหอบหืด โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น ในการดำน้ำนั้น เรื่องของสุขภาพร่างกายเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าสิ่งอื่นใด หากร่างกายไม่พร้อม ก็ไม่ควรเสี่ยงทำกิจกรรมประเภทนี้อย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะการดำน้ำลึก เพราะคุณจะต้องแบกอุปกรณ์ดำน้ำที่มีน้ำหนักประมาณ 20 – 30 กิโลกรัม หรือมากกว่านั้นลงไปด้วย และที่สำคัญคือ ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด เพราะแอลกอฮอล์จะไปเร่งการไหลเวียนของโลหิต ทำให้มีการสูบฉีดเร็วกว่าปกติ จนเกิดอาการช็อคได้ และการสูบบุหรี่นั้น จะมีผลกระทบกับปอด ซึ่งส่งผลตรงต่อระบบทางเดินหายใจได้

4. เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ..... ในการดำน้ำนั้น อุปกรณ์จะต้องมีอย่างครบเซ็ต ขาดอย่างได้อย่างหนึ่งไปไม่ได้ เพราะอาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้ ไม่ว่าจะเป็นการดำน้ำตื้น หรือดำน้ำลึกก็ตาม ส่วนอุปกรณ์นั้นมีอะไรบ้าง เราจะเก็บรวบรวมข้อมูลมาให้คุณในบทความต่อไปอย่างแน่นอนค่ะ

5. ฝึกใช้อุปกรณ์ต่างๆ ให้ชำนาญ และเรียนรู้เทคนิคการใช้อุปกรณ์ทุกอย่างร่วมกัน ..... ก็เป็นหนึ่งขั้นตอนก่อนการดำน้ำที่ควรจะปฏิบัติไว้ ไม่ว่าจะเป็นการลองสวมหน้ากาก การใช้ท่อหายใจ (Snorkel) เป็นต้น เพราะการฝึกใช้อุปกรณ์ต่างๆ นี้ จะทำให้คุณได้รู้วิธีการและประโยชน์ของอุปกรณ์ชิ้นนั้นๆ เป็นอย่างดีด้วย

6. การตรวจเช็คสภาพอุปกรณ์ให้พร้อมใช้ .... เมื่อมีการเตรียมและฝึกใช้อุปกรณ์แล้ว เราควรจะตรวจเช็คสภาพอุปกรณ์ทุกชิ้นให้พร้อมใช้ด้วยทุกครั้งก่อนการดำน้ำ ไม่ว่าจะเป็น ชุดที่สวมใส่ ตีนกบ ถังอากาศ สายส่งอากาศ หน้ากากดำน้ำ เป็นต้น เพราะในการดำน้ำทุกครั้ง คุณได้ฝากชีวิตไว้กับอุปกรณ์เหล่านี้ด้วย

ทั้ง 6 ข้อนี้ เป็นข้อมูลการเตรียมตัวก่อนดำน้ำ ที่หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ชาวเที่ยวเมืองไทย ที่จะออกทริปไปเที่ยวหน้าร้อนผ่อนคลายกับกิจกรรมทางทะเลด้วยการดำน้ำบ้างนะคะ .... ^^

ที่มา    http://www.travel.in.th/th/review/knowledge/%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

การพัฒนาบุคลากรเพื่อจัดการแหล่งท่องเที่ยว

การพัฒนาบุคลากรเพื่อจัดการแหล่งท่องเที่ยว
        บุคลากรที่ดำเนินงานบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในที่นี้ แท้จริงแล้วคือสมาชิกในชุมชนทุกคนซึ่งมีส่วนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนด้วยการปรับเปลี่ยนบทบาทมาตอบสนอง
        กิจกรรมการท่องเที่ยว อาจแบ่งประเภทของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวชุมชนได้ 3 ประเภท ด้วยกันดังนี้
        1. สมาชิกในชุมชน เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงจากสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรการท่องเที่ยวทั้งด้านบวกและด้านลบเมื่อสามารถรักษาสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติให้อยู่ในสภาพที่
สมดุล สวยงาม น่าอยู่ จะทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวในชุมชนนั้น สมาชิกในชุมชนย่อมได้รับผลดีในเชิงเศรษฐกิจไปด้วย
        2. ผู้มีหน้าที่นำเที่ยวหรือมัคคุเทศก์ เป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยว จึงเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวมากที่สุดมัคคุเทศก์จึงมีบทบาทสำคัญในการที่จะช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวตามธรรมชาติได้เป็นอย่างดี การให้คำแนะนำที่ถูกต้องในระหว่างการนำนักท่องเที่ยวออก
        ท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ควรจะแจ้งข้อมูล ทำความเข้าใจกับนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะกฎระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ของแหล่งท่องเที่ยวชุมชน มีกิริยามารยาทที่เรียบร้อยละมุมละม่อม มีการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมและเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้และดูแลรักษาทรัพยากรการท่องเที่ยวตามธรรมชาติ
        3. ผู้ดำเนินการกิจกรรมการท่องเที่ยวในชุมชน เป็นบุคลากรสำคัญที่จะช่วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยว โดยการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่นักท่องเที่ยว มีการจัดทำแผนการเดินทางและกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะเกี่ยวกับสภาพพื้นที่ ข้อมูลทั่วไปประเพณีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง แนะนำการปฏิบัติของนักท่องเที่ยวให้เหมาะสมกับชุมชน ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศของพื้นที่ ตลอดจนแนะนำข้อควรระวังต่าง ๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบทั้งกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และตัวนักท่องเที่ยวเอง
แนวทางการพัฒนาบุคลากรเพื่อบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว
        การพัฒนาบุคลากรเพื่อบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวได้กำหนดให้มีแนวทางการดำเนินงานออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
        1. การพัฒนาศักยภาพตนเอง โดยการเรียนรู้จากนักท่องเที่ยวและการฝึกปฏิบัติจริง มีการศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเองเข้ารับการอบรมและศึกษาดูงานที่เกี่ยวข้อง
        2. การพัฒนาทีมงาน มีการจัดตั้งกลุ่ม ชมรมหรือคณะทำงานเพื่อการจัดการด้านการท่องเที่ยว มีการอบรมให้ความรู้แก่ทีมงาน เช่น ไปศึกษาดูงานในสถานที่ต่าง ๆ มีการเชิญหน่วยงานภายนอกเข้ามาถ่ายทอดและให้ความรู้กับบุคลากรในพื้นที่
        3. การถ่ายทอดความรู้จากผู้มีประสบการณ์ในชุมชนปราชญ์ชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ไปสู่เยาวชนรุ่นหลังมีการถ่ายทอดจากผู้มีประสบการณ์และความรู้เฉพาะด้านไปสู่บุคลากรในชุมชน มีการสนับสนุนบุคลากรทดแทน มีการจัดประชาคมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มชุมชนที่จัดกิจกรรมการท่องเที่ยว
        4. การจัดทำฐานข้อมูลองค์ความรู้ในชุมชน โดยการถ่ายทอด การศึกษาค้นคว้า การศึกษาดูงาน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างพื้นที่ นำมาจัดทำเป็นมาตรฐานข้อมูลแห่งการเรียนรู้ชุมชน และจัดทำศูนย์ข้อมูลเรียนรู้ระดับท้องถิ่น
        5. การวิจัยและประเมินผล โดยการจัดทำแบบสอบถามเพื่อประเมินผลการให้บริการอันนำไปสู่การพัฒนาบุคลากรเพื่อการให้บริการที่ดีขึ้น มีการศึกษาวิจัยเฉพาะด้านเพื่อการจัดการท่องเที่ยวที่ดีขึ้น
ที่มา      http://www2.suratthani.go.th/km/index-20.htm

การเป็นนักท่องเที่ยวที่ดี

             1. ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ที่จะเดินทางไปเสียก่อน อาทิ สถานที่ที่พักอยู่ที่ไหน ราคาเท่าไหร่ แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมีที่ไหนบ้าง ตลอดจนการกาหนดยานพาหนะให้ถูกต้องเหมาะสม ศึกษาเส้นทางที่จะเดิน ทั้งในเรื่องเส้นทางเดินป่า ควรศึกษาให้เข้าใจ สาหรับกรณีท่องเที่ยวแหล่งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ควรจะศึกษาเรื่องราวของแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆก่อนเพื่อทาให้เราได้เข้าใจได้มากขึ้น เช่น พระราชบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น รวมไปถึงสภาพแวดล้อม ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ เช่น อากาศในช่วงที่จะเดินทางไปนั้นมีสภาพอากาศร้อน หนาว เท่าไหร่ มีลมมรสุมหรือไม่ กรณีที่ไปเที่ยวตามเกาะต่างๆ ซึ่งข้อนี้สาคัญมากสาหรับนักท่องเที่ยวที่ว่ายน้าไม่เป็น หรือไม่แกร่งพอ ถ้าหากมีลมมรสุมและทางหน่วยงานของรัฐมีการแจ้งเตือน ควรจะเชื่อตามคาแนะนา เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุเรื่องล่ม หรือเกิดภาวะน้าหลากตามแหล่งน้าตกต่างๆในช่วงฤดูฝนที่พบว่ามีน้าป่าไหลบ่าจนทาให้เกิดอุบัติเหตุได้

              2. การจัดเตรียมเครื่องปฐมพยาบาลเบื้องต้น พกติดไปด้วย อาทิ ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ปวด ลดไข้ พลาสเตอร์ปิดแผล รวมทั้งยาประจาตัวของผู้ที่ป่วยเป็นโรคเฉพาะ เพราะอาจจะเกิดอาการกาเริบได้ในขณะท่องเที่ยว

              3. การจัดเตรียมเสื้อผ้า รองเท้า และอาหาร-น้้า กรณีที่เป็นการท่องเที่ยวแบบสมบุกสมบัน ตั้งแคมป์เดินป่า ปืนเขา เป็นต้น จะต้องจัดเตรียมสัมภาระที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวแนวนั้นๆ

             4. นักท่องเที่ยวที่ดีจะต้องช่วยกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ มิให้เสื่อมโทรม ด้วยการช่วยไม่ทิ้งขยะ สิ่งของเหลือใช้ลงในแม่น้า แหล่งน้าต่างๆ หรือตามสองข้างทางในป่า หรือตามเกาะ แก่งต่างๆ นอกจากนี้ไม่ควรจะขีดเขียนตามโขดหิน ผนังถ้า ต้นไม้ การหัก / เด็ด ดอกไม้ หินงอก หินย้อย หรือเก็บปะการังตามเกาะต่างๆ เป็นการทาลายความงามตามธรรมชาติ การทาลายโบราณสถาน การเก็บชิ้นส่วนจากโบราณสถานไปเป็นสมบัติส่วนตัวถือว่าเป็นการกระทาความผิดทางกฎหมาย

             5. นักท่องเที่ยวที่ดีจะต้องไม่ประพฤติตนขัดต่อวิถีชีวิตและประเพณีนิยมของคนในท้องถิ่นที่ไปเยือน การฝึกฝนตนให้เป็นคนช่างสังเกต รู้จักกาลเทศะอันควร จะช่วยให้ปฏิบัติตนได้ถูกต้อง และยังได้รับความเป็นมิตร ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมของท้องถิ่นต่างๆอีกด้วย

            6. นักท่องเที่ยวที่เดินทางเป็นหมู่คณะ จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของกลุ่ม ฟังคาแนะนาของหัวหน้าคณะและมัคคุเทศก์ ต้องตรงต่อเวลา ไม่ประพฤติตนให้เป็นที่ราคาญ หรือรบกวนหมู่คณะ

           7. นักท่องเที่ยวที่ดีจะต้องระมัดระวังอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการเดินทาง ต้องไม่ประมาทและคานึงความปลอดภัยให้มากที่สุด ผู้ขับขี่รถต้องไม่ดื่มสุรา ยาม้า หรือของมึนเมาทุกประเภท ไม่ขับรถด้วยความเร็วเกินอัตรากาหนด ไม่แข่งหรือแซงกันในที่คับขัน ก่อนออกเดินทุกครั้งควรตรวจสภาพพาหนะก่อนออกเดินทาง กรณีที่เดินทางทางน้า จะต้องจัดเตรียมเครื่องชูชีพให้พร้อมสาหรับนักท่องเที่ยวทุกคน กรณีที่ไปแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ไม่ควรปีนป่ายหน้าผา น้าตกที่ลื่นชัน ฯลฯ ถ้ามีการเดินป่า ควรมีผู้นาทาง หลีกเลี่ยงการผ่านที่เปลี่ยว และพยายามเกาะกลุ่มกันเพื่อไม่ให้หลงทาง
          
            การท่องเที่ยวจะเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ ถ้ารู้จักท่องเที่ยวให้ถูกวิธี ซึ่งจะช่วยให้
ได้รับความสนุกสนาน การรู้จักระมัดระวังตัว ความรู้แจ้งเห็นจริง ความเป็นมิตร และความเข้าใจที่ดีจากการได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน ที่สาคัญคือ การตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ มรดกทางวัฒนธรรมที่จะกระตุ้นจิตสานึกในการอนุรักษ์สมบัติที่มีคุณค่าเหล่านี้ให้คงอยู่คู่ประเทศไทยต่อไปนานเท่านาน

วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555

แนะนำประเทศไทย

เชิญท่องเที่ยว Travel

10 สุดยอดสถานที่ท่องเที่ยวโรแมนติกที่สุดในโลก

           นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่คู่รัก จะต้องแสดงออกถึงความรักระหว่างกันและกัน การแสดงออก ในเรื่องความรัก หมายถึง การทำให้ฝ่ายตรงข้ามรู้สึกประทับใจ รู้สึกดี รู้สึกผูกพัน รู้สึกว่าได้ใช้ชีวิตร่วมกัน อย่างเกิดประโยชน์มากขึ้น วิธีแสดงออกถึงความรัก ที่เป็นที่นิยมอีกสิ่งหนึ่งก็คือ การได้ใช้เวลาไปท่องเที่ยวพักผ่อนด้วยกันในสถานที่สวย ๆ เพื่อเพิ่มความโรแมนติก และกระชับสายสัมพันธ์ ให้แน่นแฟ้นมากขึ้นไปอีก
ต่อไปนี้คือ 10 อันดับสถานที่ ที่ถูกจัดว่า มีความโรแมนติกมากที่สุดในโลก ซึ่งน่าจะหาโอกาสพาคนรัก ไปเยี่ยมชม สักครั้งหนึ่งในชีวิต
           
อันดับที่ 10. Colmar ประเทศฝรั่งเศส เมือง Colmar ถูกจัดให้เป็นเมืองที่มีความโรแมนติก เมืองหนึ่ง ของประเทศฝรั่งเศส และเป็นสถานที่ที่คู่รัก มักจะให้คำสัญญาในความรักระหว่างกันและกัน สิ่งที่น่าประทับใจในเมือง Colmar ก็คือ ไร่องุ่นจำนวนมาก เคียงคู่ไปกับอุตสาหกรรมการผลิตไวน์ชั้นเยี่ยม และบรรยากาศ ที่สวยงาม สถาปัตยกรรมของอาคารบ้านเรือนเก่าแก่ ช่วยทำให้เมือง Colmar เป็นอีกหนึ่งในสถานที่โรแมนติกในฝัน

 อันดับที่ 9. Paris ประเทศฝรั่งเศส เมืองปารีส มีสมญานามว่า “สวรรค์แห่งความโรแมนติก” (Heaven of Romantic) ดังที่ สถานที่แห่งนี้ เหมาะเป็นอย่างยิ่งที่คุณและคนรัก จะสารภาพ “รักนิรันดร์” ระหว่างกันและกัน สิ่งที่น่าประทับใจในเมืองปารีส อย่างเช่น พิพิธภัณฑ์ Le Louvre (พิพิธภัณฑ์ ที่มีผู้เข้าเยี่ยมชมมากที่สุดในโลก) หอไอเฟล ,โรงแรม Disney Land Resort ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุโรป พิพิธภัณฑ์ศิลปะ Centre Pompidou และสถานที่สวยงามอื่น ๆ อีกมากมาย การไปเที่ยว กับคนรักที่ปารีส หากจัดสรรเวลาให้ดีก็จะคุ้มค่ามาก และสถานที่แห่งนี้จะเก็บความโรแมนติก อยู่ในใจของคุณไปอีกนานแสนนาน

 อันดับที่ 8.Venice ประเทศอิตาลี หากคุณกำลังมองหาสถานที่ ที่จะเอ่ยกับคนรักว่า เขาหรือเธอ เป็นคนที่มีค่ามากที่สุดในชีวิต Venice ก็คือ คำตอบสุดท้ายสำหรับคุณ! เมือง Venice มีชื่อเสียงโด่งดังในด้าน สุดยอดสถาปัตยกรรม และยังมีหลายสถานที่โรแมนติก เช่น สะพานเก่าแก่ Ponte dei Sospiri, จตุรัส Piazza San Marco ที่ได้รับสมณานามว่า “ห้องจิตรกรรมของยุโรป” (The - drawing room of Europe) และคลองในตัวเมือง “Canale Grande” ทั้งหมดนี้จะสร้าง ความโรแมนติก ระดับหรูหรา ให้กับคนรักและตัวคุณ

 อันดับที่ 7. Schloss Neuschwanstein ประเทศเยอรมันนี สถานที่ที่ผสมผสาน ความสวยงามตามธรรมชาติ เข้ากับจินตนาการ และความสร้างสรรค์ของมนุษย์ ได้อย่างลงตัว เมือง SchlossNeuschwanstein มีความสวยงาม ราวกับเป็นสวรรค์บนพื้นโลก รายล้อมไปด้วยทิวทัศน์อันสวยงาม ปราสาทเก่าแก่อายุ 100 กว่าปี (สร้างปี 1899) ซึ่งเยอรมัน ได้ถูกกล่าวขานว่า เป็นอีกประเทศหนึ่ง ที่มีปราสาทสวยงามที่สุดในยุโรป

 อันดับที่ 6. Vienna ประเทศออสเตรีย เมือง Vienna ในประเทศออสเตรีย เป็นอีกสถานที่ที่มีคู่รักจากทั่วทุกมุมของโลก แวะเวียนมาเยี่ยมชมความสวยงาม สิ่งที่ขึ้นชื่อของเมืองนี้คือ สุดยอดสถาปัตยกรรม และสุดยอดผลงานเพลง, ศิลปะ และพิพิธภัณฑ์ศิลปะ ที่มีชื่อเสียงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก พระราชวัง Schoenbrunn, พระราชวัง Belvedere, พระราชวัง The Hofburg Imperial และพิพิธภัณฑ์นักจิตวิทยาผู้โด่งดัง Sigmund Freud

 อันดับที่ 5. Monte Carlo ประเทศโมนาโค เมือง Monte Carlo ยังเป็นอีกหนึ่งสถานที่โรแมนติก ที่คุณจะได้สื่อความรัก ไปยังคนรักของคุณ เมืองนี้ตั้งอยู่ที่ตีนของเทือกเขาแอลป์ และเป็น สถานที่ที่มีเรื่องราวของความรัก ก่อกำเนิดขึ้นมากมาย สิ่งที่น่าสนใจของเมือง Monte Carlo คือบ่อนคาสิโนเลื่องชื่อ (Monte Carlo Casino) พิพิธภัณธ์ทางทะเล, พิพิธภัณฑ์ประจำชาติ และพระราชวัง Prince

 อันดับที่ 4. Prague สาธารณรัฐเช็ก อีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ สำหรับสถานที่โรแมนติก ก็คือ เมือง Prague ของสาธารณรัฐเช็ก สถานที่แห่งนี้ขึ้นชื่อเรื่องอาหารอร่อย วัฒนธรรม และปราสาทเก่าแก่ ผู้คนที่มีมิตรไมตรี และสุภาพอ่อนโยน เมือง Prague เป็นสถานที่เกิดของนักดนตรีระดับโลก อย่าง Mozart และมีชื่อเสียง ในเรื่องของทางเดินอันสวยงามในเมือง ที่คู่รักสามารถใช้เวลาเดินเล่นด้วยกัน

 อันดับที่ 3. New York ประเทศสหรัฐอเมริกา เมือง New York เหมาะสำหรับคู่รัก ที่กำลังมองหาสถานที่ที่จะใช้ ช่วงเวลาแห่งความรัก และความโรแมนติก ในหลากหลายรูปแบบ ร้านอาหาร และร้านค้าจำนวนมาก และสถานที่น่าสนใจอื่น ๆ เช่น สถานีรถไฟ Grand Central Terminal, อนุสาวรีย์เทพีสันติภาพ และสวนหย่อมขนาดใหญ่ Central Park (มีกิจกรรมคอนเสิร์ต, มีลานสเก็ตน้ำแข็ง)

 อันดับที่ 2. Cairo ประเทศอียิปต์ เมือง Cario ก็ได้รับการกล่าวขานว่า เป็นสวรรค์บนโลกเช่นเดียวกัน (โดยเฉพาะสำหรับคู่รัก) ความงดงามและมนต์เสน่ห์ที่อยู่ในตัวเมือง คือแรงดึงดูด ให้คู่รักเดินทางมาใช้เวลาท่องเที่ยวที่นี่ด้วยกัน และปิรามิด ก็คือสิ่งที่พิเศษที่สุด ท่ามกลางความสวยงามในตัวเมือง

 อันดับที่ 1. Mauritius Island มหาสมุทรอินเดีย สถานที่แห่งนี้ ได้รับการกล่าวขานว่า “ปลายทางสุดท้าย ที่โรแมนติกมากที่สุด” (Ultimate Romantic Destination) เกาะ Mauritius มีชื่อเสียง อย่างมาก ในหมู่คู่รักที่จะมาท่องเที่ยว หรือคู่รักที่จะมาฮันนีมูน ต้นปาล์มมากมายที่เคลื่อนที่พริ้วไหว ไปตามสายลม บรรยากาศที่สวยงามตามธรรมชาติ แนวหินปะการัง และท้องทะเลสีฟ้า เป็นส่วนหนึ่งในอีกหลาย ๆ สิ่ง ที่ทำให้สถานที่แห่งนี้สวยงามจนยากที่จะลืมเลือน
ขอบคุณข้อมูลจาก gunnerthailand.com
http://brightlives.th.88db.com/lifestyle/lifestyle_romantic.htm

10 อันดับสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยที่สุดในประเทศไทย

อันดับที่ 10 เกาะตะปู
          เกาะตะปู ตั้งอยู่ในบริเวณทะเลด้านนอก ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา คิดเป็นระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร จากที่ทำการอุทยานฯตามลำคลองเกาะปันหยีจังหวัดพังงา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย อยู่ทางด้านเหนือในเวิ้งอ่าวของเกาะเขาพิงกัน เกาะตะปู มีลักษณะเป็นเกาะเดี่ยว รูปร่างคล้ายตะปู มีศัพท์เฉพาะทางธรณีวิทยาว่า เกาะหินโด่ง (Stack) การชมเกาะตะปูต้องชมในระยะไกลจากเรือ หรือจากสันดอนของเกาะเขาพิงกัน ไม่สามารถขึ้นไปบนเกาะได้

อันดับที่ 9 เกาะเต่า
           เกาะเต่า มีพื้นที่อยู่ในฝั่งของทะเลอ่าวไทย และอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลักษณะของ สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย เกาะเต่า จะมีลักษณะที่โค้งเว้า เหมือนกับเมล็ดถั่ว ซึ่งเกาะเต่า จะตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ เกาะพงัน จ.สุราษฏร์ธานี ระยะทางจากเกาะพงันถึงเกาะเต่า ประมาณสี่สิบห้ากิโลเมตร นอกจากนี้ สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย? ในบริเวณใกล้เคียงกับเกาะเต่ายังมีเกาะนางยวนซึ่ง เป็นเกาะเล็กๆ ด้านตะวันตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะเต่า มีสันทรายเชื่อมต่อกับเกาะเต่าในลักษณะเหมือนทะเลแหวก เป็นแหล่งดำน้ำชมปะการังอีกแห่งหนึ่ง

อันดับที่ 8 อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
          อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอดอยหล่อ อำเภอจอมทองและอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย
ในวันที 13 เดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2521 คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ได้ประกาศให้ดอยอินทนนท์เป็นอุทยานแห่งชาติ

อันดับที่ 7 หัวหิน
           หัวหิน เป็นอำเภอที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ? สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย เดิมมีชื่อว่า “บ้านสมอเรียง” หรือ “บ้านแหลมหิน” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้ทรงสร้างวังไกลกังวลเพื่อประทับพักผ่อนในฤดูร้อน และปัจจุบันวังไกลกังวลนั้นเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน

อันดับที่ 6 พัทยา
          พัทยา หรือ เมืองพัทยา เป็นเขตปกครองพิเศษเขตหนึ่งที่ตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ เมืองพัทยา ฉบับ วันที่ 29 พฤจิกายน พ.ศ. 2521 (เทียบเท่าเทศบาลนคร) ในเขตจังหวัดชลบุรี จัดเป็น สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย? เมืองท่องเที่ยวนานาชาติที่มีชื่อเสียงระดับโลกโดยเฉพาะหาดทรายที่ ทอดยาวไปตามแนวชายฝั่งทะเล จัดได้ว่า
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย มีความสวยงามอีกแห่งของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 140 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลทางทิศตะวันออกของอ่าวไทย ซึ่งพัทยาแบ่งเป็น 4 ส่วนได้แก่ พัทยาเหนือ พัทยากลาง พัทยาใต้ และหาดจอมเทียน

อันดับที่ 5 เกาะช้าง
          เกาะ ช้าง เป็น?สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย? ที่เกาะที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยรองจากเกาะภูเก็ต เกาะช้างมีโรงแรมและรีสอร์ตมากมาย ทำให้นักท่องเที่ยวนิยมมาดำน้ำ และด้วยภูมิประเทศที่มีป่าเขาอยู่กลางเกาะ นักท่องเที่ยวจึงสามารถท่องเที่ยวแบบเดินป่า ขี่ช้างก็ได้เช่นกัน

อันดับที่ 4 เกาะสมุย
          เกาะสมุย เดิมเกาะสมุยมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งปลูกมะพร้าว ปัจจุบันเป็นสถานที่พักผ่อนตากอากาศที่ชาวต่างประเทศนิยมเดินทางมาท่อง เที่ยว มีร้านค้า โรงแรม และสถานบันเทิงต่าง ๆ มากมาย หาดที่เป็นที่เชิดหน้าชูตาของคนเกาะสมุย คือ หาดเฉวง บริเวณชายหาดยาวประมาณ 7 กิโลเมตร ถ้าได้ลงมือเดินตั้งแต่ต้นหาดจนกระทั่งถึงปลายหาดจะใช้เวลาประมาณถึง 2 ชั่วโมง เพราะการเดินบนผืนทรายไม่เหมือนการเดินบนพื้นดินปรกติ
หาดที่มีความสวยงามเป็นอันดับรองลงมา คือ หาดละไม หาดเชิงมนต์ แหลมโจรคร่ำ หาดท้องยาง หาดหน้าทอน หาดพังกา และหาดตลิ่งงาม นอกจากธรรมชาติที่สวยงามของอำเภอเกาะสมุยแล้ว ยังมีกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก คือ “สปา” หรือการดูแลรักษาสุขภาพโดยการใช้น้ำบำบัด เช่น การอาบ-การแช่น้ำแร่หรือน้ำร้อน

อันดับที่ 3 หมู่เกาะพีพี
          อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในทะเลอันดามันด้านทิศตะวันตกของภาคใต้? สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย? เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่มีลักษณะสวยงามตามธรรมชาติ รอบ ๆ เกาะมีปะการัง กัลปังหา ทิวทัศน์ใต้ทะเลที่งดงาม และเอกลักษณ์ทางธรรมชาติคือภูเขาหินปูนที่มีหน้าผาเป็นชั้น ๆ ถ้ำที่สวยงาม ตลอดจนชายหาดยาวสะอาด สุสานหอย 40 ล้านปี ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 389.96 ตารางกิโลเมตร หรือ 243,725 ไร่

อันดับที่ 2 หมู่เกาะสิมิลัน
          อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความสวยงามทั้งบนบกและใต้น้ำ มีปะการังที่สวยงามหลายชนิด สามารถดำน้ำได้ทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก สามารถพบปลาที่หายาก เช่น วาฬ โลมา ปลาไหลมอเร่(moray) ช่วงเดือนที่น่าเที่ยวมากที่สุด คือช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนเมษายน นอกจากนั้นจะประกาศปิดเกาะ

อันดับที่ 1 หาดป่าตอง
          หาดป่าตอง อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 15 กิโลเมตร นับว่าเป็น สถาน ที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย หาดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของภูเก็ต เป็นชายหาด สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ที่เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ร้านดำน้ำ ร้านขายอุปกรณ์กีฬาทางน้ำ และอื่น ๆ อีกมากมาย ไว้คอยบริการแก่นักท่องเที่ยว ด้วยชายหาดที่มีความยาวกว่า 4 กิโลเมตร และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ป่าตองจึงเป็น สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ที่มีผู้นิยมมาเยือนมากที่สุด
หาด ป่าตองถูกถล่มโดยคลื่นสึนามิในเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547ปัจจุบัน หาดป่าตองเป็นหนึ่งในชายหาดสำคัญที่ได้รับการติดตั้งระบบเตือนภัยสึนามิ มีการซักซ้อมการอพยพและการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวอยู่อย่างสม่ำเสมอ เป็นระยะๆ

ข้อมูลจาก FWDMAIL
http://www.tlcthai.com/travel/5735

เที่ยวเมืองไทยครึกครื้น 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
          อุตสาหกรรม หมายถึง การประกอบกิจกรรมด้วยการนำปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ได้แก่ เงินทุน แรงงาน วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร และการจัดการมารวมกันเพื่อผลิตสินค้า และบริการอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีคุณค่าต่อมนุษย์
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หมายถึง การประกอบกิจกรรมด้วยการนำปัจจัยการผลิตต่างๆ มาผลิตบริการอย่างใดอย่างหนึ่งด้านการท่องเที่ยว ที่ก่อให้เกิดความสะดวกสบายหรือความพึงพอใจ และขายบริการด้านการท่องเที่ยวนั้นให้แก่ผู้เยี่ยมเยือน
           สินค้าของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เหมือนหรือต่างจากสินค้าของอุตสาหกรรมอื่นๆ อย่างไร
    1. เป็นสินค้าที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Goods)
สินค้าของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวคือการให้ “บริการ” ผู้บริโภคหรือผู้มาเยี่ยมเยือนไม่สามารถจับต้องหรือสัมผัสได้ ผู้มาเยี่ยมเยือนเพียงแต่ได้รับความพึงพอใจจากสิ่งที่เห็นหรือสิ่งที่ได้รับเท่านั้น บุคลากรที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจึงมีความสำคัญอย่างมาก
     2. เป็นสินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนที่ไปหาผู้บริโภค
ผู้บริโภคต้องเดินทางไปซื้อสินค้าและบริการ ณ สถานที่ผลิตนั้นเอง ซึ่งหมายถึงสถานที่ที่มีทรัพยากรการท่องเที่ยวต่างๆ
     3. เป็นสินค้าที่ไม่สูญสลาย
เป็นสินค้าและบริการที่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกหลายครั้ง ในบางครั้งต้องดูแลรักษาและบำรุงให้คงอยู่ในสภาพที่ดีและเสียหายน้อยที่สุด
      4. เป็นสินค้าที่เปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนกรรมสิทธิ์ก็ได้
              เนื่องจากสินค้าในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีหลากหลายรูปแบบ มีทั้งที่เมื่อผู้เยี่ยมเยือนได้ซื้อสินค้าแล้ว สินค้าบางประเภทมีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ อาทิ อาหาร ของที่ระลึก เป็นต้น แต่บางประเภทเพียงแค่ได้สิทธิ์ในการใช้ หรือชม อาทิ การจ่ายค่าห้องโรงแรม ไม่ใช่การได้เป็นเจ้าของห้อง เพียงแต่ได้สิทธิ์ในการเข้าพักตามระยะเวลาที่ตกลง เมื่อเข้ามาที่น้ำตก ทะเล ภูเขา ผู้เยี่ยมเยือนไม่ได้เป็นเจ้าของน้ำตก ทะเล ภูเขา เพียงแต่ได้เข้ามาเยี่ยมชมความงดงามเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าประเภท “บริการ” อาทิ รอยยิ้ม ความช่วยเหลือ การดูแล ผู้เยี่ยมเยือนเพียงแต่ได้รับ “บริการ” เหล่านั้นในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ไม่ได้เป็นเจ้าของ
           ดังนั้นจึงสามารถจำแนกองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้ออกเป็น
-องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักท่องเที่ยว (องค์ประกอบหลัก)
1. สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว
2. ธุรกิจการคมนาคมขนส่ง
3. ธุรกิจที่พักแรม
4. ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร
5. ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
-องค์ประกอบที่สนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยว (องค์ประกอบเสริม)
1. ธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
2. ธุรกิจ MICE
3. การบริการข่าวสารข้อมูล
4. การอำนวยความสะดวกทางด้านความปลอดภัย
5. การอำนวยความสะดวกในการเข้า-ออกเมือง

วัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยว
Swarbrook (2007)  ได้ระบุวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยว ไว้ดังนี้
•1. การท่องเที่ยวเพื่อเยียมเยือนเพื่อนและญาติพี่น้อง (Visiting Friends and Relatives)
•2. การท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ (Business Tourism)
•3. การท่องเที่ยวแบบอิงศาสนา (Religious Tourism)
•4. การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ (Health Tourism)
•5. การท่องเที่ยวแบบสวัสดิการ (Social Tourism)
•6. การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา (Educational Tourism)
•7. การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (Cultural Tourism)
•8. การท่องเที่ยวแบบชมทิวทัศน์ (Scenic Tourism)
•9. การท่องเที่ยวแบบการแสวงหาความสำราญ (Hedonistic Tourism)
•10. การท่องเที่ยวเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมหรือทำกิจกรรม (Activity Tourism)
•11. การท่องเที่ยวแบบมุ่งความสนใจพิเศษ (Special Interest Tourism)

ประเภทของนักท่องเที่ยว


ประเภทของนักท่องเที่ยว
การจัดประเภทของนักท่องเที่ยวสามารถจำแนกได้หลายลักษณะ ดังนี้
1.ตามการจัดการเดินทาง
ก. Mass Tourists กลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนมาก มีการเดินทางท่องเที่ยวในรายการเดียวกัน พักโรงแรมในระดับเดียวกัน รับประทานอาหาร และทำกิจกรรมการท่องเที่ยวอื่น ๆ ในแบบเดียวกัน
ข. Eco Tourists นักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวโดยมีจุดประสงค์ที่มุ่งรักษาสภาพแวดล้อมของระบบนิเวศน์
       2. ตามจำนวนมากน้อยของนักท่องเที่ยว
ก. เป็นกลุ่ม (Group Tour หรือ Escort Tour)
ข. เป็นส่วนบุคคล (Independent Tour)
       3.ตามวัตถุประสงค์ของการเดินทาง  ความมุ่งหมายในการเดินทางของนักท่องเที่ยว ซึ่งแบ่งได้ 8 ประการ คือ
ก. การท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจในวันหยุด(holiday-mass Popular individual)
ข. การท่องเที่ยวเพื่อวัฒนธรรมและศาสนา (Cultural Religion) เป็นการเดินทางเพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมของสังคมต่างๆ เช่นการศึกษาความเป็นอยู่ การชมศิลปะ ดนตรี ละคร การนมัสการศูนย์ศาสนา เป็นต้น
ค. การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา(Educational) เป็นการเดินทางเพื่อการทำวิจัยการศึกษา สอนหนังสือ ฝึกอบรม หรือดูงานต่างประเทศ ซึ่งจะต้องพำนักอยู่สถานที่นั้นๆ เป็นเวลานาน
ง. การท่องเที่ยวเพื่อการกีฬาและบันเทิง (Sport and Recreation) คือการเดินทางไปชม หรือร่วมแข่งขันกีฬา หรือนันทนาการต่างๆ
จ. การท่องเที่ยวเพื่อประวัติศาสตร์ และความสนใจพิเศษ (Historical and special interests)
ฉ. การท่องเที่ยวเพื่องานอดิเรก (Hobbies) หมายถึงการท่องเที่ยวเพื่อทำงานอดิเรก เช่นการวาดภาพ การเขียนนวนิยาย เป็นต้น
ช. การท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมญาติมิตร (visiting Friend and Relative) การท่องเที่ยวเพื่อธุรกิจ(Business) เป็นการเดินทางของนักธุรกิจที่จัดเวลาบางส่วนของการเดินทางหลังจะทำธุรกิจเสร็จสิ้นแล้ว ใช้เวลาในการท่องเที่ยวก่อนเดินทางกลับ
        4.ตามวิธีการเดินทาง
ก. แบบเหมาจ่าย (Package Tour)
ข. แบบเบ็ดเสร็จ (Inclusive Tour)
ค. แบบเป็นรางวัล (Incentive Tour)
ง. แบบเช่าเหมาลำ (Charter Tour)
           5. ตามอายุ
           6. ตามเพศ
           7. ตามฐานะทางสังคม
           8. ตามประสบการณ์และบทบาท
ก. The organized mass Tourists
ข. The individual mass Tourists
ค. The explorer
ง. The drifter

ที่มา  http://touristbehaviour.wordpress.com/1/

การกำหนดรูปแบบพฤติกรรมนักท่องเที่ยว

การกำหนดรูปแบบพฤติกรรมนักท่องเที่ยว
           นักวิชาการด้านการท่องเที่ยวได้กำหนดรูปแบบของนักท่องเที่ยว (Typology : a systematic classification or study of types) เพื่ออธิบายพฤติกรรมนักท่องเที่ยว การพัฒนารูปแบบของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ได้มาจากข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์หรือการใช้แบบสอบถาม (questionnaire) การกำหนดรูปแบบพฤติกรรมนักท่องเที่ยวอาจทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และวิธีการที่ใช้
            การกำหนดรูปแบบพฤติกรรมนักท่องเที่ยวรูปแบบพื้นฐานที่สุดคือ การแบ่งนักท่องเที่ยวออกเป็น 2 กลุ่ม ตามลักษณะของพฤติกรรมของการเดินทาง คือ การแบ่งว่าบุคคลนั้นเป็น 1) นักท่องเที่ยว (Tourists) หรือ 2) นักเดินทาง (travelers) นักท่องเที่ยวคือ บุคคลซึ่งซื้อรายการนำเที่ยวเหมาจ่ายจากบริษัทนำเที่ยว ในขณะที่นักเดินทางคือบุคคลซึ่งจัดการการเดินทางด้วยตนเอง เช่น ซื้อตั๋วเครื่องบินเอง จองที่พักเอง กำหนดสถานที่ท่องเที่ยวด้วยตนเอง เป็นต้น
            Perreault  และ  Dorden (1979) ได้เสนอรูปแบบพฤติกรรมนักท่องเที่ยวออกเป็น  4  รูปแบบ ได้แก่
1)  นักท่องเที่ยวแบบประหยัด (Budget Travelers) โดยทั่วไปแล้วนักท่องเที่ยวประเภทนี้ทีรายได้ปานกลาง แต่แสวงหาการหยุดพักผ่อนหรือท่องเที่ยวที่ใช้ค่าใช้จ่ายต่ำ
2)  นักท่องเที่ยวชอบผจญภัย (Adventurous Travelers) เป็นนักท่องเที่ยวที่มีการศึกษาดีและมีรายได้ปานกลางถึงสูง มีความชื่นชอบในกิจกรรมระหว่างการหยุดพักผ่อนหรือการท่องเที่ยวแบบผจญภัย
3)  นักท่องเที่ยวประเภทเดินทางระหว่างวันหยุด (Vacationers Travelers) เป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มเล็กๆ ซึ่งมักใช้เวลาในการคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยวหรือการเดินทางในครั้งต่อไปว่าจะไปที่ไหน อย่างไร นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ค่อนข้างมีความกระตือรือร้นแต่มีรายได้ค่อนข้างนัอย
4)  นักท่องเที่ยวแบบชอบเดินทางโดยใช้ระยะเวลาเดินทางยาวนาน (Moderates Travelers) เป็นนักท่องเที่ยวที่มีใจรักการท่องเที่ยวเดินทางอย่างมากแต่ไม่สนใจการท่องเที่ยวในระหวางวันหยุดสุดสัปดาห์หรือการใช้เวลากับการเล่นกีฬา แต่จะชอบการเดินทางที่ใช้ระยะเวลานานมากกว่า
Cohen (1979) ได้เสนอรูปแบพฤติกรรมนักท่องเที่ยวไว้ ดังนี้
1) นักท่องเที่ยวแบบนันทนาการ (Recreational Tourists) เป็นนักท่องเที่ยวซึ่งเน้นความสำคัญในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนันทนาการหรือการพักผ่อนทางร่างกาย
2)  นักท่องเที่ยวแบบปลีกตัวหาความเพลิดเพลิน (The Diversionary Tourists) เป็นนักท่องเที่ยวที่พยายามทางแนวทางเพื่อลืมความจำเจในชีวิตประจำวัน
3)  นักท่องเที่ยวมุ่งหาประสบการณ์ (The Experiential Tourists) เป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางเพื่อแสวงหาประสบการณ์ที่แท้จริง นักท่องเที่ยวประเภทนี้สนใจศึกษาและได้รับ
ประสบการณ์ที่แท้จริงของแหล่งท่องเที่ยวที่ได้ไปสัมผัส ตัวอย่างเช่น เมื่อเดินทางไปประเทศสเปน ก็ต้องการสัมผัสวิถีชีวิตของผู้คนท้องถิ่นหรือวัฒนธรรมต่างๆ ที่แท้จริงเป็นของสเปน
4)  นักท่องเที่ยวแบบชอบทดลอง (The Experimental Tourists) มีลักษณะที่เห็นเด่นชัดคือ ชอบติดต่อพูดคุยกับคนท้องถิ่นเพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจในชีวิตความเป็นอยู่ การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมของคนท้องถิ่น
5)  นักท่องเที่ยวที่ใช้ชีวิตแบบคนท้องถิ่น (The Existential Tourists) นักท่องเที่ยวประเภทนี้ต้องการฝังตัวเองหรือใช้ชีวิตภายใต้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตเดียวกับคนท้องถิ่น นักท่องเที่ยวประเภทนี้จะใช้เวลาอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวนั้นเป็นเวลานาน ตัวอย่างเช่น นักท่องเที่ยวที่มาใช้เวลาอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวบางแห่งในประเทศไทย เช่น พัทยาหรือเชียงใหม่ และพยายามใช้ชีวิตเช่นเดียวกับคนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตัว การับประทานอาหาร การพยายามพูดภาษาท้องถิ่น เป็นต้น
สำนักงานเศรษฐกิจศึกษา  Westvlaams (1986, อ้างจาก Swarbrook และ Horner 1999) ได้เสนอรูปแบพฤติกรรมนักท่องเที่ยวไว้ ดังนี้
•1)      นักท่องเที่ยวประเภทหลงใหลในทะเล (Active sea lovers)
2)  นักท่องเที่ยวประเภทชอบผูกมิตร (Contact-minded holiday makers) มีจิตใจชอบติดต่อพบปะกับผู้อื่น แสวงหามิตรใหม่โดนเฉพาะที่เป็นคนท้องถิ่น
3)  นักท่องเที่ยวประเภทชอบชมธรรมชาติ (Nature Viewers) ชอบความงดงามของภูมิทัศน์ของแหล่งท่องเที่ยว
4)  นักท่องเที่ยวประเภทแสวงหาการพักผ่อน (Rest-seekers) ใช้เวลาไปกับการนอนพักผ่อนหย่อนใจมากกว่าการทำกิจกรรมอื่นๆ
5)  นักค้นหา (Discovers) ชอบกิจกรรมประเภทผจญภัยและชอบแสวงหามิตรใหม่
6)  นักท่องเที่ยวแบบเดินทางพร้อมครอบครัว (Family-orientated) เป็นนักท่องเที่ยวที่หลงใหลในแสงแดดและทะเล และชอบเดินทางท่องเที่ยวแบบไปเป็นครอบครัว
7)  นักท่องเที่ยวแบบประเพณีนิยม (Traditionalists) ชอบเดินทางท่องเที่ยวที่เน้นความปลอดภัยและไม่เสี่ยงภัย
ที่มา   http://touristbehaviour.wordpress.com/1/

ความหมายของพฤติกรรมนักท่องเที่ยว

                 พฤติกรรมนักท่องเที่ยว  เป็นการกระทำทุกอย่างของนักท่องเที่ยวไม่ว่าการกระทำนั้นนักท่องเที่ยวจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม  และบุคคลอื่นจะสังเกตการกระทำนั้นได้หรือไม่ก็ตามก็เพื่อมุ่งตอบสนองสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสภาพการณ์ใดสภาพการณ์หนึ่ง  โดยพฤติกรรมภายนอกของนักท่องเที่ยว (Tourist’s Overt Behaviour) เป็นพฤติกรรมที่ผู้อื่นสังเกตได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส  ส่วนพฤติกรรมภายในของนักท่องเที่ยว (Tourist’s Covert Behaviour)  เป็นการทำงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายรวมทั้งความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ที่ถูกควบคุมอยู่ภายในจะมีความสัมพันธ์กัน  โดยพฤติกรรมภายในจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมภายนอกเป็นส่วนใหญ่
           องค์ประกอบของพฤติกรรมนักท่องเที่ยวนั้นมีองค์ประกอบสำคัญ  7  ประการ  คือ
           1. เป้าหมาย  หมายถึง  พฤติกรรมนักท่องเที่ยวทุกๆ พฤติกรรม  จะต้องมีเป้าหมายในการกระทำ  เช่น  นักท่องเที่ยวกลุ่มอนุรักษ์ต้องการ เกียรติยศโดยการแสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าตนเดินทางท่องเที่ยวโดยที่สภาพแวดล้อมในสถานที่ตนเดินทางยังคงสภาพความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ดังเดิม
            2.  ความพร้อม  หมายถึง  ความมีวุฒิภาวะ  และความสามารถในการทำกิจกรรม  เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ  เช่น  นักท่องเที่ยวกลุ่มที่รักความผจญภัย  นิยมไต่เขา  ปีนหน้าผาต้องมีความพร้อมทั้งสภาพร่างกายและจิตใจแล้วสามารถจะทำกิจกรรมที่ตนชอบได้
            3.  สถานการณ์ หมายถึง  เหตุการณ์หรือโอกาสที่เอื้ออำนวยให้เลือกกระทำกิจกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการ  เช่น  การท่องเที่ยวตามหมู่เกาะ  ควรกระทำในยามคลื่นลมสงบ  ไม่ควรทำในขณะที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง
            4.  การแปลความหมาย  หมายถึง  วิธีการคิดแบบต่างๆ  เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่พอใจมากที่สุดในสถานการณ์หนึ่ง ๆ  เช่น  เวลาสิบสองนาฬิกา  เป็นเวลาที่นักท่องเที่ยวควรเป็นเวลาที่นักท่องเที่ยวควรหยุดพักรับประทานอาหารกลางวัน
            5.  การตอบสนอง  คือ  การตัดสินใจกระทำกิจกรรมตามที่ตนได้ตัดสินใจเลือกสรรแล้ว  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ  เช่น  นักท่องเที่ยวได้ตัดสินใจที่จะเดินทางท่องเที่ยวในช่วงวันหยุด เพื่อพักผ่อน ดังนั้นนักท่องเที่ยวจะต้องวางแผนการเดินทาง และจัดการดำเนินการล่วงหน้า ในการกระทำกิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ตั้งแต่กิจกรรมการกำหนดสถานที่ท่องเที่ยว กิจกรรมการเดินทาง กิจกรรมการจองที่พัก เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง
            6.  ผลลัพธ์ที่ตามมา  คือ  ผลจากการกระทำหนึ่ง ๆ  อาจได้ผลตามที่คาดหมายไว้  หรืออาจตรงกันข้ามกับความคาดหวังที่ตั้งใจไว้  เช่น นักท่องเที่ยวได้มีกำหนดการเดินทางไว้เพื่อมาพักผ่อนวันหยุดในประเทศไทย แต่ปรากฏว่าในเวลานั้นเกิดการชุมนุมที่สนามบิน และทำให้สนามบินต้องปิดทำการ เครื่องบินไม่สามารถลงจอดได้ มีผลลัพธ์ทำให้นักท่องเที่ยวไม่สามารถบรรลุผลตามที่คาดหมายไว้ได้
            7.  ปฏิกิริยาต่อความผิดหวัง  คือ  ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อสิ่งที่กระทำลงไปไม่บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ  จึงต้องกลับมาแปลความหมาย  ไตร่ตรอง  เพื่อเลือกหาวิธีใหม่ๆ  มาตอบสนองความต้องการ  หรืออาจจะเลิกความต้องการไป  เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่เกินความสามารถ     เช่น การก่อวินาศกรรมในเมืองมุมไบ ประเทศอินเดียในเดือนพฤศจิกายน ปี 2008 นักท่องเที่ยวที่ตั้งใจจะเดินทางไปเมืองดังกล่าว จะต้องเกิดความผิดหวังเพราะเกิดความกังวลด้านความปลอดภัย และอาจล้มเลิกความตั้งใจในการเดินทาง หรืออาจเปลี่ยนเส้นทางไปเมืองอื่นที่ปลอดภัยกว่า
พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว (Tourist Behavior) หมายถึง การแสดงออกของแต่ละบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้สินค้าและบริการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว รวมทั้งกระบวนการในการตัดสินใจที่มีผลต่อการแสดงออก
ประโยชน์ของการศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยว
>ช่วยให้นักการตลาดเข้าใจถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยว>ช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถหาหนทางแก็ไขพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวในสังคมได้ถูกต้องและสอดคล้องกับความสามารถในการตอบสนองของธุรกิจท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น
>ช่วยให้การพัฒนาตลาดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์สามารถทำได้ดีขึ้น
>เพื่อประโยชน์ในการแบ่งส่วนตลาด เพื่อการตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว ให้ตรงกับชนิดของสินค้าและบริการที่ต้องการ
>ช่วยในการปรับปรุงกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจท่องเที่ยวต่าง ๆ เพื่อความได้เปรียบคู่แข่งขัน
กระบวนการพฤติกรรม (Process of Behavior)<
>พฤติกรรมเกิดขึ้นได้ต้องมีสาเหตุทำให้เกิด
>พฤติกรรมเกิดขึ้นได้จะต้องมีสิ่งจูงใจหรือแรงกระตุ้น
>พฤติกรรมที่เกิดขึ้นย่อมมุ่งไปสู่เป้าหมาย
ที่มา  http://touristbehaviour.wordpress.com/1/

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

The seven wonders of 7 Amazing Thailand - 03 Beaches

ประเภทการท่องเที่ยว


       
       1.การท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นการท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนเกษตรกรรมเช่น สวนสมุนไพร ฟาร์มปศุสัตว์ และสัตว์เลี้ยงรวมถึงแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่างๆ
     
         2.การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คือ การเดินทางไปในสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติ

         3.การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นการท่องเที่ยวและเยี่ยมชมสถานที่แสดงถึงความเป็นวัฒนธรรม เช่น การชมสถานโบราณวัตถุ โบราณสถาน ปราสาท พระราชวัง วัด ประเพณี รวมถึงวิถีการดำเนินชีวิตของบุคคลในแต่ละยุคสมัย
 
         4.การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ คือ การรูปแบบการท่องเที่ยวที่ผสมผสานในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ หรือแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ โดยมีกิจกรรมเพื่อการรักษาสุขภาพเป็นกิจกรรมสำคัยของการท่องเที่ยว เช่น การท่องเที่ยวสปา
 
          5.การท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ เช่นการเดินทางไปเยี่ยมเยียนลูกค้า หรือ ดูแลงานและได้ไปท่องเที่ยวในท้องถิ่นนั้นๆประมาณ 1-2วัน

ที่มา   http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7

โฆษณาการท่องเที่ยว

ความหมายและความสำคัญของการท่องเที่ยว

           
                   
                การท่องเที่ยว  หมายถึง การเดินทางของบุคคลจากสถานที่ซึ่งเป็นที่อาศัยอยู่ประจำไปยังสถานที่อื่นเป็นการชั่วคราวและเดินทางกลับไปสถานที่อาศัยเดิม   โดยการเดินทางนั้นไม่ใช่เพื่อประกอบอาชีพโดยตรง   แม้ว่ารูปแบบของการท่องเที่ยวบางประเภทจะมีเรื่องของอาชีพ หรือธุรกิจการงานเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่บ้าง เช่น การท่องเที่ยวในรูปแบบของการจัดประชุม  การจัดสัมมนา  การจัดฝึกอบรม   นักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางท่องเที่ยวมักจะมีเหตุผลหรือประเภทของจุดมุ่งหมายในการเดินทางที่แตกต่างกันออกไปโดยมีปัจจัยประกอบที่เป็นตัวสนับสนุน  หรือ    แรงผลักที่เป็นส่วนบุคคลซึ่งไม่เท่ากัน ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่  รายได้ เวลา โอกาสครอบครัว  การได้รับข้อมูลข่าวสาร และความสนใจส่วนบุคคล เช่น สนใจเรื่องราวของชนเผ่า วัฒนธรรม ประเพณี   ประวัติศาสตร์   สิ่งแวดล้อม   นันทนาการ   หรือความต้องการที่จะได้รับประสบการณ์ที่แปลกใหม่   เป็นต้น  ซึ่งไม่ว่าจะเดินทางด้วยเหตุผลใดก็ตาม  สิ่งที่นักท่องเที่ยวต่างก็คาดหวังที่จะได้รับ  คือ ความสุข  ความสนุกสนาน  ความเพลิดเพลิน  ความรู้  และประสบการณ์ใหม่ที่สนองตอบความต้องการส่วนบุคคลที่มีอยู่
tourist หมายถึง นักท่องเที่ยวที่เดินทางจากที่พักอาศัยของตน แล้วกลับมาเกินกว่า 24 ชั่วโมงและได้พักแรมที่ไหนแห่งหนึ่งชั่วคาบเวลาหนึ่ง บางประเทศก็เรียกว่า night visitor
excursionist หมายถึง นักท่องเที่ยวแบบช้าไป เย็นกลับ หรือกลับมาถึงบ้านภายใน 24 ชั่วโมงโดยไม่พักแรม ณ ที่ใด บางประเทศก็เรียกว่า day visitor
visitor หมายถึงอย่างเดียวกับ tourist แต่เป็นคำที่ประเทศหนึ่งใช้เรียกนักท่องเที่ยวจากประเทศที่เข้ามา ในประเทศของตน และบางทีก็เรียกเต็มยศว่า foreign visitor นอกจากนี้ในประเทศที่ใช้คำvisitor แทนคำ tourist นี้มักจะใช้คำว่า tourist หรือ domestic tourist ให้หมายถึงนักท่องเที่ยว ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศหนึ่งแล้วท่องเที่ยวไปแต่เฉพาะภายในประเทศของตนเอง
            
             การท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์  ซึ่งกระทำเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดจากกิจการงานประจำ โดยปกติ    การท่องเที่ยวหมายถึง  การเดินทางของคนจากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง เป็นการชั่วคราว โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการพักผ่อน หรือหาความรู้   ซึ่งครอบคลุมถึงการเดินทางเพื่อธุรกิจตราบที่ผู้เดินทางยังมิได้ตั้งหลักแหล่งถาวร และไม่ได้รับรายได้เพื่อยังชีพจากเจ้าของถิ่นปลายทางโดยการท่องเที่ยวยังเป็นผลรวมของประสบการณ์พิเศษกับสัมพันธภาพซึ่งเกิดจาการเดินทางและการพักแรมต่างถิ่นเป็นการชั่วคราว โดยมิได้ประกอบอาชีพ
        ดังนั้นการท่องเที่ยวจึงเป็นการเดินทางตามเงื่อนไขสากล   3  ประการ  คือ
1.      เป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว 
2.      เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ  
3.      เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใด ๆ ก็ตาม ที่มิใช่เพื่อประกอบอาชีพหรือหารายได้  

ความหมายและความสำคัญของการท่องเที่ยว
             หากกล่าวถึงคำว่า"การท่องเที่ยว" หลายคนอาจนึกถึงคำว่า การเดินทาง ไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ หรือเพื่อไปร่วมกิจกรรมบางอย่าง เยี่ยมเยือนญาติมิตร ไปประชุม หรือบางคนอาจจะนึกถึงชาวต่างประเทศ สะพายกระเป๋าอยู่กลางถนน นอนอาบแดดอยู่ริมชายหาด ดังนั้นจึงพบว่ากิจกรรมการเดินทางนั้น มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตมนุย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ อาทิเช่น การทำสงคราม การแสวงหาสินค้า แสวงหาดินแดนใหม่ หรือเพื่อนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งการเดินทางบางอย่างยังคงปรากฎให้เห็นจนถึงปัจจุบัน

จะพบว่าการท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า การเดินทางไม่ใช่การท่องเที่ยวเสมอไป ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ควรจะรู้ความหมายของการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้อย่างมหาศาลให้แก่ประเทศ และถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
ความหมายของการท่องเที่ยว
- การท่องเที่ยวเป็นรูปแบบหนึ่งของกิจกรรมนันทนาการ และการเดินทาง ไม่ใช่ การท่องเที่ยวเสมอไป
- มีการประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องของการเดินทางและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี และได้ยอมรับข้อเสนอเกี่ยวกับคำจำกัดความของการท่องเที่ยวจากนักวิชาการจากจากองค์การการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ (WTO)ว่าการเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยวต้องมีลักษณะดังนี้
1. เป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว
2. เดินทางด้วยความสมัครใจ
3. ไม่ใช่เดินทางเพื่อไปประกอบอาชีพและการหารายได้
การจำแนกประเภทของผู้มาเยือน การแบ่งตามช่วงเวลาที่ใช้ไปในการไปเยือนและมีการพักค้างคืน ณ สถานที่ที่ไปเยือนนั้น แบ่งออกเป็น
      นักท่องเที่ยว (Tourist)
           หมายถึง ผู้ที่มาเยือนชั่วคราว ซึ่งพักอยู่ ณ สถานที่ที่ไปเยือนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง และมีการพักค้างคืนอย่างน้อย 1 คืน แต่ไม่เกิน 1 ปี ได้แก่
-ผู้ที่ไม่มีถิ่นพำนักอยู่ในสถานที่ที่ไปเยือน
-ผู้ที่มีสัญชาติของประเทศนั้นหรือเดิมเป็นคนในถิ่นนั้น แต่ปัจจุบันไม่ได้มีถิ่นพำนักในสถานที่ที่ไปเยือนแล้ว
-ผู้ที่เป็นลูกเรือ ซึ่งไม่มีถิ่นพำนัก ณ สถานที่ที่ไปเยือน และมีการค้างคืน ณ สถานที่ที่ไปเยือน
       นักทัศนาจร (Excursionist)
                คือผู้มาเยือนชั่วคราว ซึ่งพักอยู่ ณ สถานที่นั้นน้อยกว่า 24 ชั่วโมง และไม่พักค้างคืน ได้แก่
-ผู้โดยสารเรือสำราญหรือเรือเดินสมุทร ซึ่งมาแวะพักชั่วคราว ไม่พักค้างคืน
-ผู้ที่มาเยือนและจากสถานที่นั้นภายในวันเดียว (same-day visitor)
-ลูกเรือ ที่ไม่ได้มีถิ่นที่อยู่อาศัย ณ สถานที่นั้นๆ และแวะพักเพียงชั่วคราว ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
แบ่งออกเป็น
- ผู้มาเยือนขาเข้า (inbound visitor) คือผู้ที่มีถิ่นพำนักในต่างประเทศและเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศอีกครั้งหนึ่ง
- ผู้มาเยือนขาออก (outbound visitor) คือผู้ที่มีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศหนึ่ง และเดินทางไปท่องเที่ยวที่ต่างประเทศ
- ผู้มาเยือนภายในประเทศ (domestic visitor) คือผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศที่ตนมีถิ่นพำนักอยู่
**อาจเรียก inbound visitor และ domestic visitor ว่า ผู้มาเยือนในประเทศ internal visitor ได้
ที่มา    http://siamprotuguesestudy.blogspot.com/2010/07/1.html